พระราชบัญญัติ
แร่
พ.ศ. 2510

________________________

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2510
เป็นปีที่ 22 ในรัชกาลปัจจุบัน

      พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
      โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยแร่
      จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา ดังต่อไปนี้

      มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510"

      มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
*[รก.2510/129/1พ./31 ธันวาคม 2510]

      มาตรา 3 ให้ยกเลิก
            (1) พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พระพุทธศักราช 2461
            (2) ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 13 กันยายน
 พระพุทธศักราช 2464 ให้ใช้พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่
พระพุทธศักราช 2461 คุ้มครองไปถึงเพชรพลอยต่าง ๆ
            (3) พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2474
            (4) พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2479
            (5) พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2479
            (6) พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2483
            (7) พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2483
            (8) พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ (ฉบับที่ 7) พุทธศักราช 2484
            (9) พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ (ฉบับที่ 8) พุทธศักราช 2485
            (10) พระราชบัญญัติว่าด้วยวิธีการเก็บค่าภาคหลวงแร่ พุทธศักราช 2486
            (11) พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2506
            (12) พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ (ฉบับที่ 10) พุทธศักราช 2509
บรรดาบทกฎหมาย กฎและข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบ ัญญัติ
นี้แทน

หมวด 1
บททั่วไป

____________________

      มาตรา 4* ในพระราชบัญญัตินี้

      "แร่"* หมายความว่า ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุ มีส่วน ประกอบทางเคมีกับลักษณะทางฟิสิกส์แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อย ไม่ว่า
จะต้องถลุงหรือหลอมก่อนใช้หรือไม่ และหมายความรวมตลอดถึงถ่านหิน หินน้ำมัน หินอ่อน โลหะ และตะกรันที่ได้จากโลหกรรม น้ำเกลือใต้ดิน หินซึ่งกฎกระทรวงกำหนดเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรม และดินหรือทรายซึ่งกฎกระทรวงกำหนดเป็นดินอุตสาหกรรมหรือทรายอุตสาหกรรม แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงน้ำ เกลือสินเธาว์ ลูกรัง หิน ดิน หรือทราย"
      *[นิยามนี้ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534]

      "น้ำเกลือใต้ดิน"* หมายความว่า น้ำเกลือที่มีอยู่ใต้ดินตามธรรมชาติและมีความเข้มข้นของเกลือในปริมาณมากกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง"
      *[นิยามนี้ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534]

      "สำรวจแร่" หมายความว่า การเจาะหรือขุด หรือกระทำด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งหลายวิธี เพื่อให้รู้ว่าในพื้นที่มีแร่อยู่หรือไม่เพียงใด

      "ทำเหมือง"* หมายความว่า การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่บกหรือที่น้ำเพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายวิธี แต่ไม่
รวมถึงการขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินตามหมวด 5 ทวิ และการขุดหาแร่รายย่อยหรือการร่อนแร่ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
      *[นิยามนี้ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534]

      "ขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดิน"* หมายความว่า การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่บกหรือที่น้ำเพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำเกลือใต้ดิน แต่ไม่รวมถึงการทำ
เหมืองแร่เกลือหินด้วยวิธีเหมืองละลายแร่"
      *[นิยามนี้ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534]

      "ขุดหาแร่รายย่อย" หมายความว่า การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่บกหรือที่น้ำเพื่อให้ได้มาซึ่งแร่โดยใช้แรงคนแต่ละคนตามชนิดของแร่ ภายใน
ท้องที่และวิธีการขุดหาแร่ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

      "ร่อนแร่" หมายความว่า การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่บกหรือที่น้ำ เพื่อให้ได้มาซึ่งแร่โดยใช้แรงคนแต่ละคนตามชนิดของแร่ ภายในท้องที่และ
วิธีการร่อนแร่ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

      "แต่งแร่" หมายความว่า การกระทำอย่างใด ๆ เพื่อทำแร่ให้สะอาด หรือเพื่อให้แร่ที่ปนกันอยู่ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปแยกออกจากกัน และ
หมายความรวมตลอดถึงบดแร่ หรือคัดขนาดแร่

      "ซื้อแร่" หมายความว่า การรับโอนแร่ด้วยประการใดจากบุคคลอื่นนอกจากการตกทอดทางมรดก

      "ขายแร่" หมายความว่า การโอนแร่ด้วยประการใดไปยังบุคคลอื่น

      "มีแร่ไว้ในครอบครอง"* หมายความว่า การซื้อแร่ การมีไว้ การยึดถือ หรือการรับไว้ด้วยประการใดซึ่งแร่ ทั้งนี้ ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น
      *[นิยามนี้ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

      "เรือขุดหาแร่"* หมายความว่า เรือหรือแพซึ่งมีอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำเหมืองหรือการแต่งแร่สำหรับใช้ในเรือหรือแพนั้น
      *[นิยามนี้ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

      "เขตควบคุมแร่"* หมายความว่า เขตพื้นที่ซึ่งรัฐมนตรีประกาศเป็นเขตควบคุมแร่
      *[นิยามนี้ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

      "ผู้อำนวยการ"* หมายความว่า ผู้อำนวยการเขตควบคุมแร่
      *[นิยามนี้ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

      "โลหกรรม" หมายความว่า การถลุงแร่หรือการทำแร่ให้เป็นโลหะด้วยวิธีอื่นใด และหมายความรวมตลอดถึงการทำโลหะให้บริสุทธิ์ การผสมโลหะ
การผลิตโลหะสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปชนิดต่าง ๆ โดยวิธีหลอม หล่อ รีดหรือวิธีอื่นใด

      "เขตเหมืองแร่" หมายความว่า เขตพื้นที่ซึ่งกำหนดในประทานบัตรชั่วคราว หรือประทานบัตร

      "เขตแต่งแร่" หมายความว่า เขตพื้นที่ซึ่งระบุในใบอนุญาตแต่งแร่

      "เขตโลหกรรม" หมายความว่า เขตพื้นที่ซึ่งระบุในใบอนุญาตประกอบโลหกรรม

      "สถานที่เก็บแร่" หมายความว่า สถานที่ซึ่งระบุในใบอนุญาตเก็บแร่

      "สถานที่ฝากแร่"* หมายความว่า สถานที่ ซึ่งรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นสถานที่ฝากแร่ตามมาตรา 103 ตรี"
      *[นิยามนี้ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ พ.ศ. 2526]

      "สถานที่พักแร่" หมายความว่า สถานที่ซึ่งระบุในใบอนุญาตขนแร่ให้นำแร่ไปเก็บที่พักไว้ได้

      "อาชญาบัตรสำรวจแร่" หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อสำรวจแร่ภายในท้องที่ซึ่งระบุในหนังสือสำคัญนั้น

      "อาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่" หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อผูกขาดสำรวจแร่ภายในเขตที่กำหนดในหนังสือสำคัญนั้น

      "อาชญาบัตรพิเศษ" หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อผูกขาดสำรวจแร่เป็นกรณีพิเศษภายในเขตที่กำหนดในหนังสือสำคัญนั้น

      "ประทานบัตรชั่วคราว" หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อทำเหมืองก่อนได้รับประทานบัตรภายในเขตที่กำหนดในหนังสือสำคัญนั้น

      "ประทานบัตร" หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อทำเหมืองภายในเขตที่กำหนดในหนังสือสำคัญนั้น

      "ที่ว่าง" หมายความว่า ที่ซึ่งมิได้มีบุคคลใดมีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน และมิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอัน
ราษฎร ใช้ประโยชน์ร่วมกัน และมิใช่ที่ดินในเขตที่มีการคุ้มครองหรือสงวนไว้ตามกฎหมาย
      
      "มูลดินทราย" หมายความรวมถึง เปลือกดิน ทราย กรวด หรือหินที่เกิดจากการทำเหมือง

      "ตะกรัน" หมายความว่า สารประกอบหรือสารพลอยได้อื่นใดที่เกิดจากการประกอบโลหกรรม

      "ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่" หมายความว่า ทรัพยากรธรณีอำเภอหรือทรัพยากรธรณีจังหวัด แล้วแต่กรณี ถ้าในจังหวัดใดไม่มีทรัพยากรธรณีจังหวัด
ให้หมายความว่าอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย

      "พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

      "อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี

      "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
      *[มาตรา 4 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 5 การจัดตั้งสำนักงานทรัพยากรธรณีจังหวัดหรือสำนักงานทรัพยากรธรณีอำเภอโดยจะให้มีเขตอำนาจตลอดเขตใด ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง
      ในการกำหนดเขตอำนาจของสำนักงานทรัพยากรธรณีจังหวัด จะกำหนดให้ตำบล หรืออำเภอใดรวมอยู่ในเขตอำนาจของสำนักงานทรัพยากรธรณีจังหวัดหนึ่ง ก็ให้กระทำได้โดยมิต้องคำนึงว่าตำบลหรืออำเภอนั้นอยู่ในเขตจังหวัดเดียวกันหรือไม่
      สำนักงานทรัพยากรธรณีจังหวัดแต่ละเขต ให้มีทรัพยากรธรณีจังหวัด คนหนึ่งเป็นผู้ควบคุมบังคับบัญชา
      ในกรณีที่สำนักงานทรัพยากรธรณีจังหวัดหนึ่งมีเขตอำนาจในจังหวัดอื่น รวมอยู่ด้วย ก็ให้ถือว่าทรัพยากรธรณีจังหวัดผู้ควบคุมบังคับบัญชาท้องที่ในจังหวัดอื่นที่มีเขตอำนาจนั้น เป็นหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดในจังหวัดอื่นนั้นด้วย
      ในการกำหนดเขตอำนาจของสำนักงานทรัพยากรธรณีอำเภอ จะกำหนดให้อำเภอหนึ่งหรือหลายอำเภอ หรือตำบลใดในอำเภออื่น รวมอยู่ในเขตอำนาจ
ของสำนักงานทรัพยากรธรณีอำเภอนั้นก็ได้
      สำนักงานทรัพยากรธรณีอำเภอแต่ละเขต ให้มีทรัพยากรธรณีอำเภอคนหนึ่งเป็นผู้ควบคุมบังคับบัญชา และจะกำหนดให้ทรัพยากรธรณีอำเภอนั้นอยู่ในบังคับบัญชาของทรัพยากรธรณีจังหวัดใดหรืออยู่ในบังคับบัญชาของอธิบดีก็ได้

      มาตรา 6* คำขอต ามพระราชบัญญัตินี้ให้ทำตามแบบพิมพ์ที่กรมทรัพยากรธรณีกำหนด
      คุณสมบัติของผู้ขอ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ อาชญาบัตรพิเศษ ประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร และใบอนุญาต ตลอดจนการต่ออายุอาชญาบัตรพิเศษ ประทานบัตร ใบอนุญาตแต่งแร่ และใบอนุญาตประกอบโลหกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง
      ผู้ยื่นคำขอต้องเสียค่าคำขอและวางค่าธรรมเนียมล่วงหน้าพร้อมกับการยื่นคำขอ และต้องออกค่าใช้จ่ายหรือวางเงินล่วงหน้าเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดดำเนินการและการออกหรือต่ออายุอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร หรือใบอนุญาต แล้วแต่กรณี ไว้ต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ด้วย ถ้าได้มีการสั่งยกคำขอหรือไม่ได้รับอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร หรือใบอนุญาตด้วยประการใด ค่าใช้จ่ายสำหรับกิจการที่ยังไม่ได้ดำเนินการนั้น ให้คืนให้แก่ผู้ยื่นคำขอ แต่ถ้าดำเนินการไปแล้วเป็นบางส่วนให้คืนให้เฉพาะส่วนที่ยังไม่ได้ดำเนินการ       ค่าธรรมเนียมล่วงหน้าที่ผู้ยื่นคำขอวางไว้ ถ้าได้มีการสั่งยกหรือถอน คำขอนั้น ผู้ยื่นคำขอต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับกิจการที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระในอัตราหนึ่งในสี่ของเงินที่วางไว้ เว้นแต่ในกรณีที่มีการสั่งยกคำขอโดยมิใช่ความผิดของผู้ยื่นคำขอหรือผู้ยื่นคำขอตาย"
      *[มาตรา 6 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 6 ทวิ* เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการสำรวจ การทดลองการศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ ให้รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดพื้นที่ใด ๆ ให้เป็นเขตสำหรับการ
ดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ได้
      ภายในเขตที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง ผู้ใดจะยื่นคำขออาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว หรือประทานบัตรไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็น สมควรให้ยื่นคำขอได้เป็นกรณีพิเศษโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
      เมื่อหมดความจำเป็นที่จะใช้เขตพื้นที่เพื่อประโยชน์ดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีประกาศยกเลิกในราชกิจจานุ เบกษา"
      *[มาตรา 6 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516 และแก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

      มาตรา 6 ตรี* พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่กรมทรัพยากรธรณีในการกระทำเพื่อประโยชน์แก่การสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่
      *[มาตรา 6 ตรี เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 6 จัตวา* เพื่อประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดพื้นที่ใด
ที่มิใช่แหล่งต้นน้ำหรือป่าน้ำซับซึม ที่ได้ทำการสำรวจแล้วปรากฏว่ามีแหล่งแร่อุดมสมบูรณ์ และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงให้เป็นเขตแหล่งแร่เพื่อออกประทานบัตร
ชั่วคราว หรือประทานบัตรได้เป็นอับดับแรกก่อนการสงวนหวงห้าม หรือใช้ประโยชน์อย่างอื่นในที่ดินในพื้นที่นั้น แต่ทั้งนี้ให้คำนึงถึงผลกระทบกระเทือนต่อคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมด้วย
      *[มาตรา 6 จัตวา เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

      มาตรา 7* ถ้าอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร หรือใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลาย ให้ผู้ ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราวผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ทราบการสูญหายหรือการถูกทำลาย
      *[มาตรา 7 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 8* ถ้าผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาต ประสงค์จะตั้งผู้ใดไว้เพื่อติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่แทนตนผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตรหรือผู้รับใบอนุญาตต้องทำหนังสือมอบอำนาจและจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
      การทำหนังสือมอบอำนาจ และการจดทะเบียนให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่อธิบดีกำหนด
      *[มาตรา 8 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 9* หนังสือหรือคำสั่งที่มีถึงบุคคลใดเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจส่งให้แก่บุคคลนั้นโดยตรง หรือส่งให้แก่
      (1) ผู้รับมอบอำนาจตามมาตรา 8
      (2) ผู ้ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว ซึ่งอยู่ ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ หรือสำนักทำการงานของบุคคลนั้น หรือ
      (3) บุคคลนั้นโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสำนักทำการงานของบุคคลนั้น ทั้งนี้ซึ่งได้จดแจ้งไว้ต่อทางราชการ
      เมื่อได้ส่งหนังสือหรือคำสั่งให้แก่บุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือ โดยวิธีการตาม (3) ให้ถือว่าบุคคลนั้นได้รับหนังสือหรือคำสั่งนั้นแล้ว"
      *[มาตรา 9 แก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ พ.ศ. 2526]

      มาตรา 9 ทวิ* เมื่อปรากฏในภายหลังว่าได้ออกอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร หรือใบอนุญาตให้แก่ผู้ใดโดยคลาดเคลื่อนหรือโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ให้ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่
อธิบดีหรือรัฐมนตรี ผู้ออกอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร หรือใบอนุญาต แล้วแต่กรณี มีอำนาจเรียกอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร หรือใบอนุญาตดังกล่าวมาแก้ไขให้ถูกต้อง หรือเพิกถอนอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร หรือใบอนุญาตนั้นเสียได้
      ในกรณีที่มีการแก้ไขหรือเพิกถอนอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราวประทานบัตร หรือใบอนุญาตตามความในวรรคหนึ่ง ผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือ
ประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาตจะเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากการแก้ไขหรือเพิกถอนอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร
หรือใบอนุญาตนั้นไม่ได้
      *[มาตรา 9 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 9 ตรี* ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้เนื้อที่ในเขตอาชญาบัตรประทานบัตรชั่วคราว หรือประทานบัตรใดเพื่อประโยชน์แก่การอันเป็นสาธารณูปโภค การป้องกันประเทศ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นของรัฐ ให้รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจเรียกอาชญาบัตร ประทานบัตร
ชั่วคราว หรือประทานบัตรนั้นมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ในเขตอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว หรือประทานบัตรได้
      ในกรณีที่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ในเขตอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว หรือประทานบัตรตามวรรคหนึ่ง ผู้ถืออาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว หรือประทานบัตรจะเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ มิได้
      *[มาตรา 9 ตรี เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

      มาตรา 9 จัตวา* เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมการทำเหมืองการแต่งแร่ การซื้อแร่ การขายแร่ หรือการมีแร่ไว้ในการครอบครอง เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำเหมืองหรือลักลอบส่งแร่ ออกนอกราชอาณาจักร หรือเพื่อประโยชน์เกี่ยวกับความมั่นคงในทางเศรษฐกิจรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา
กำหนดให้ท้องที่หนึ่งท้องที่ใด รวมทั้งส่วนหนึ่งส่วนใดของน่านน้ำไทย เป็นเขตควบคุมแร่ โดยจะกำหนดเป็นเขตควบคุมแร่สำหรับแร่ชนิดหนึ่งชนิดใดหรือหลายชนิดก็ได้       เมื่อหมดความจำเป็นที่จะต้องมีเขตควบคุมแร่ตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีประกาศยกเลิกในราชกิจจานุเบกษา
      *[มาตรา 9 จัตวา เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

      มาตรา 9 เบญจ* ในเขตควบคุมแร่แต่ละเขตให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขต ประกอบด้วยผู้อำนวยการเป็น
ประธ านกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีเขตอำนาจอยู่ในเขตควบคุมแร่ ผู้แทน กรมตำรวจ ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนกรมอัยการ ผู้แทนกองทัพบก ผู้แทนกองทัพ
เรือ เป็นกรรมการ และให้ผู้แทนกรมทรัพยากรธรณีเป็นกรรมการและเลขานุการ และทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ที่สำนักงานเขตควบคุมแร่ตั้งอยู่ เป็นกรรมการและ
ผู้ช่วยเลขานุการ
      ในกรณีที่เขตควบคุมแร่ใดมีพื้นที่ครอบคลุมเกินหนึ่งจังหวัด ให้ส่วนราชการตามวรรคหนึ่งแต่งตั้งผู้แทนได้เขตละไม่เกินสองคน และให้คณะกรรมการ
แต่งตั้งผู้แทนกรมทรัพยากรธรณีที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการคนหนึ่ง เป็นเลขานุการ
      ในการแต่งตั้งผู้แทนส่วนราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้คำนึง
ถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ได้รับการแต่งตั้งในเขตพื้นที่ที่กำหนดเป็นเขตควบคุมแร่เป็นสำคัญ
      องค์ประชุมและระเบียบการประชุมของคณะกรรมการเขตควบคุมแร่
ประจำเขตให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขตกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
      *[มาตรา 9 เบญจ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

      มาตรา 9 ฉ* ให้คณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขตมีอำนาจให้ ความเห็นชอบในเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการตามมาตรา 9 อัฏฐ
ตลอดจนให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำแก่ผู้อำนวยการในการปฏิบัติหน้าที่อื่นในเขตควบคุมแร่คณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขตอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่
      คณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขตมอบหมายได้องค์ประชุมและระเบียบการประชุมของคณะอนุกรรมการให้เป็นไป
ตามที่คณะอนุกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขตได้มอบหมายได้
      องค์ประชุมและระเบียบการประชุมของคณะอนุกรรมการให้เป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการกำหนดโดยเห็นชอบของคณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขต
      *[มาตรา 9 ฉ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

      มาตรา 9 สัตต* ในเขตควบคุมแร่แต่ละเขต ให้รัฐมนตรีจัดตั้งสำนักงานเขตควบคุมแร่ขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งผู้อำนวยการคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ ตามที่กำหนดในมาตรา 9 อัฏฐ และมาตรา 9 นว เป็นผู้ควบคุมดูแลรับผิดชอบ
ในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเขตควบคุมแร่ ในการนี้ จะให้มีรองผู้อำนวยการและผู้ช่วยผู้อำนวยการคนหนึ่งหรือหลายคนตามที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง
เมื่อได้ปรึกษาหารือกับคณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขตแล้ว เพื่อช่วย สั่งและปฏิบัติราชการตามที่ผู้อำนวยการมอบหมายก็ได้
      ในกรณีที่ผู้อำนวยการไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองผู้อำนวยการที่มีอาวุโสสูงตามลำดับเป็นผู้รักษาการแทน และให้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้อำนวยการ
      การแต่งตั้งผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และผู้ช่วยผู้อำนวยการตามวรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งจากเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
      *[มาตรา 9 สัตต เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

      มาตรา 9 อัฏฐ* ในเขตควบคุมแร่ ให้ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขตมีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรการ
ในเรื่องดังต่อไปนี้
      (1) เรือขุดหาแร่
            (ก) กำหนดท้องที่ที่ห้ามมิให้ต่อหรือสร้างเรือขุดหาแร่ หรือประกอบหรือสร้างส่วนหนึ่งส่วนใดของเรือขุดหาแร่
            (ข) กำหนดท้องที่ที่ห้ามมิให้นำเรือขุดหาแร่เข้าไป เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย
            (ค) กำหนดท้องที่ที่ห้ามมิให้ต่อเติม แก้ไข หรือซ่อมแซมเรือขุดหาแร่ เว้นแต่เป็นเรือที่ได้ปฏิบัติตาม
            (ฉ) แล้ว และเป็นการต่อเติม แก้ไข หรือซ่อมแซมเล็กน้อย ตามลักษณะและวิธีการที่ผู้อำนวยการกำหนด
            (ง) กำหนดลักษณะ ชนิด และขนาดของเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์สำหรับใช้ในการทำเหมืองหรือแต่งแร่ ที่อนุญาตให้ใช้
หรือติดตั้งไว้ในเรือขุดหาแร่
            (จ) กำหนดสภาพและคุณภาพของแร่รวมทั้งปริมาณสูงสุดของแร่ ที่จะเก็บหรือมีไว้ในครอบครองในเรือขุดหาแร่ โดยจะกำหนดให้แตกต่างกัน
ตามขนาดและคุณภาพของเรือและเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้
            (ฉ) กำหนดให้มีการจดแจ้งประเภท ขนาด และสมรรถนะของเรือขุดหาแร่ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตลอดจนกำหนดให้เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองทำเครื่องหมายเพื่อแสดงประเภทเรือให้เป็นที่สังเกตเห็นได้ จากภายนอก ทั้งนี้ ตามวิ ธีการและหลักเกณฑ์ที่ผู้อำนวยการกำหนด
            (ช) กำหนดเส้นทางการเดินเรือ ท่าจอดเรือ และท่าพักเรือของเรือขุดหาแร่

      (2) เขตเหมืองแร่และเขตแต่งแร่
            (ก) กำหนดประเภทและสภาพของเครื่องมือ เครื่องใช้เครื่องจักร หรืออุปกรณ์สำหรับใช้ในการทำเหมืองหรือในการแต่งแร่ที่จะ
นำมาใช้ในเขตเหมืองแร่หรือในเขตแต่งแร่
            (ข) กำหนดสภาพและคุณภาพของแร่รวมทั้งปริมาณสูงสุดของแร่ที่จะเก็บหรือมีไว้ในครอบครองในเขตเหมืองแร่หรือในเขตแต่งแร่
            (ค) กำหนดที่ตั้งหรือสภาพของอาคารหรือที่ซึ่งใช้ในการเก็บแร่แต่งแร่ หรือมีแร่ไว้ในครอบครอง
      (3) มาตรการอื่น ๆ
            (ก) กำหนดเงื่อนไขและวิธีการในการขนแร่หรือเคลื่อนย้ายแร่ทั้งทางบกและทางน้ำ กำหนดเส้นทางของยานพาหนะที่ใช้ในการขนแร่หรือ
เคลื่อนย้ายแร่ ท่าจอดและท่าพักยานพาหนะ ตลอดจนเวลาและระยะเวลาที่จะอนุญาตให้ทำการขนแร่หรือเคลื่อนย้ายแร่
            (ข) กำหนดสภาพและคุณภาพของแร่รวมทั้งปริมาณสูงสุดของแร ่ที่ผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตร ผู้รับใบอนุญาต หรือผู้ได้รับหนังสืออนุญาต
จะเก็บหรือมีไว้ในครอบครองตลอดจนเงื่อนไขหรือระยะเวลาที่บุคคลดังกล่าวจะเก็บหรือมีแร่ไว้ในครอบครอง
            (ค) กำหนดให้ผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตร ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสืออนุญาต ทำบัญชีและหรือทำรายงานเกี่ยวกับปริมาณแร่ที่เก็บ
หรือมีไว้ในครอบครอง ทั้งนี้ ตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ผู้อำนวยการกำหนด
            (ง) กำหนดสถานที่ตั้งหรือสภาพของอาคารหรือสถานที่ ที่ใช้ในการเก็บแร่ พักแร่ หรือมีแร่ไว้ในครอบครอง ของผู้รับใบอนุญาตตั้งสถานที่
เก็บแร่ ผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่หรือผู้รับใบอนุญาตมีแร่ไว้ในครอบครอง
            (จ) กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองยานพาหนะที่ใช้ในการขนแร่หรือเคลื่อนย้ายแร่ ต้องติดเครื่องหมายที่ผู้อำนวยการประกาศกำหนด
ไว้ที่ยานพาหนะนั้น เพื่อแสดงให้บุคคลภายนอกเห็นได้ว่ายานพาหนะดังกล่าวกำลังใช้ในการขนแร่หรือเคลื่อนย้ายแร่ ทั้งนี้ ตามหลักเกณ ฑ์และวิธีการที่
ผู้อำนวยการกำหนด
      การใช้อำนาจตามมาตรานี้ จะกำหนดโดยมีเงื่อนไขอย่างใด ๆ ก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร
      เมื่อมีการใช้อำนาจตามมาตรานี้ เงื่อนไขในการอนุญาตใด ๆ
ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้อนุญาตไว้แล้วตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น ให้ยังคงใช้บังคับได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดตามมาตรานี้ เว้นแต่
ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขตจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
      ข้อกำหนดตามมาตรานี้ ให้ทำเป็นประกาศและปิดไว้ที่ศาลากลางจังหวัด
ที่ว่าการอำเภอ และสำนักงานทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ทุกแห่งที่อยู่ในเขตควบคุมแร่ ก่อนวันใช้บังคับไม่น้อยกว่าสามวัน และถ้าคณะกรรมการเขตควบคุม
แร่ประจำเขตเห็นสมควรจะให้ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำหน่ายในท้องถิ่นตามระยะเวลาที่เห็นสมควรก็ได้ เว้นแต่ เป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วน
ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขตจะให้ข้อกำหนดมีผลใช้บังคับทันทีที่ประกาศก็ได้
      *[มาตรา 9 อัฏฐ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

      มาตรา 9 นว* ในเขตควบคุมแร่ ให้ผู้อำนวยการและพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผู้อำนวยการมอบหมายมีอำนาจดังต่อไปนี้
      (1) เข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในเรือขุดหาแร่หรือในยานพาหนะที่อยู่ ในเขตควบคุมแร่หรือที่จะเข้ามาในเขตควบคุมแร่เพื่อตรวจค้นได้ทุกเวลา
เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิดหรือจะกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
      (2) สั่งเจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือขุดหาแร่หรือยานพาหนะที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิดหรือจะกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ให้หยุด จอด หรือนำเรือขุดหาแร่หรือยานพาหนะไปยังที่หนึ่งที่ใดเพื่อทำการตรวจค้น หรือให้ออกไปจากเขตควบคุมแร่
      (3) มีหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ หรือสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบธุรกิจที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเกี่ยวข้องกับธุรกิจแร่โดยมิชอบด้วย
กฎหมาย ส่งบัญชีเอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
      (4) สั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือขุดหาแร่หรือผู้ที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดตามมาตรา 9 อัฏฐ ปฏิบัติการตามกฎหมายหรือตามข้อกำหนดภายใน
ระยะเวลาที่ผู้อำนวยการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผู้อำนวยการมอบหมายกำหนด
      ถ้าเจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือขุดหาแร่หรือผู้ฝ่าฝืนข้อกำหนดตามมาตรา 9
อัฏฐ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่สั่งการตาม (2) (3) หรือ (4) โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือบุคคลดังกล่าวกระทำความผิดซ้ำอีกภายในระยะเวลาที่ผู้อำนวยการ
กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขตให้ผู้อำนวยการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งยึดหรืออายัดเรือขุดหาแร่ ส่วนใด
ส่วนหนึ่งของเรือขุดหาแร่ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือแร่ที่ใช้หรือเก็บไว้หรือมีไว้ในครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือสั่งยึด หรือ
อายัดอาคาร สถานที่หรือยานพาหนะ อันเป็นเครื่องมือหรือเป็นสาเหตุแห่งการกระทำความผิดในทันที ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของ
คณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขตจะพิจารณาเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรที่จะสั่งเป็นอย่างอื่น
      *[มาตรา 9 นว เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

      มาตรา 10* ในกรณีที่ความผิดตามพร ะราชบัญญัตินี้ได้กระทำโดยตัวแทนหรือลูกจ้างซึ่งได้กระทำเพราะเหตุเป็นตัวแทนหรือลูกจ้าง หรือกระทำเพื่อ
ประโยชน์ของผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาต ไม่ว่าตัวแทนหรือลูกจ้างนั้นจะได้เป็นตัวแทนโดยทำหนังสือมอบ
อำนาจ และจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่ ให้ถือว่าผู้ถืออาชญาบัตรผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาต เป็นตัวการใน
การกระทำความผิดนั้น
      *[มาตรา 10 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 11* ในการสำรวจแร่หรือทำเหมือง ถ้าได้พบโบราณวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่พิเศษอันมีคุณค่าเกี่ยวกับการศึกษาในทางธรณีวิทยา นอกจาก
จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บได้ซึ่งวัตถุนั้นแล้ว ผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว หรือผู้ถือประทานบัตรจะต้องแจ้งการพบนั้น
ต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่โดยพลัน
      *[มาตรา 11 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 12* ในเขตอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ เขตอาชญาบัตรพิเศษหรือเขตเหมืองแร่ หรือในเขตที่ได้รับอนุญาตจัดตั้งสถานที่เพื่อเก็บขังน้ำขุ่นข้น
หรือมูลดินทราย หรือในเขตที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้กำหนดเขตเพื่อการดังกล่าวแล้วห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร
หรือผู้รับใบอนุญาตเข้าไปยึดถือครอบครอง ทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพพื้นที่หรือทรัพยากรในเขตนั้น เว้นแต่ผู้นั้นมีสิทธิทำเช่นนั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
      *[มาตรา 12 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 13* การฝ่าฝืนมาตรา 12 นอกจากเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่นแล้ว ให้ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนสิทธิของ
ผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาตแล้วแต่กรณี
      *[มาตรา 11 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

      มาตรา 14 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำหลักหมายเขตเหมืองแร่หรือหมุดหลักฐ านการแผนที่ตามพระราชบัญญัตินี้ลงไว้ในที่ใด ห้ามมิให้ผู้ใดทำลาย
ดัดแปลง เคลื่อนย้าย ถอน หรือทำให้หลุดซึ่งหลักหมายเขตเหมืองแร่หรือหมุดหลักฐานการแผนที่นั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากทรัพยากรธรณีประจำ
ท้องที่

      มาตรา 15 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญา และในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
ในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดอาญา ให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

      มาตรา 15 ทวิ* ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดหรืออายัดบรรดาแร่ที่มีไว้เนื่องในการกระทำความผิด และเครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ
ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ที่บุคคลได้มาหรือได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผล
ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีได้จนกว่าจะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ทั้งนี้
ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นของผู้กระทำความผิดหรือของผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่ และเมื่อได้มีการฟ้องคดี ให้นำความในมาตรา 154
วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับ
      ในกรณีที่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้ ร้องขอรับทรัพย์สินคืนภายในกำหนดหกเดือนนับแต่วันทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี ให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน ทั้งนี้ เว้นแต่
อธิบดีจะใช้อำนาจประกาศหาตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองตามมาตรา 15 เบญจ
      *[มาตรา 15 ทวิ แก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2528]

      มาตรา 15 ตรี* ในกรณีทรัพย์สินที่ยึดไว้ตามมาตรา 15 ทวิ วรรคหนึ่งมิใช่เป็นของผู้กระทำความผิด หรือของผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้กระทำความ
ผิดให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยอนุมัติรัฐมนตรีคืนทรัพย์สินหรือเงิน แล้วแต่กรณีให้แก่เจ้าของก่อนถึงกำหนดตามมาตรา 15 ทวิ วรรคหนึ่ง ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
      (1) เมื่อทรัพย์สินนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีที่เป็นเหตุให้ทรัพย์สิน นั้นถูกยึด หรือ
      (2) เมื่อผู้กระทำความผิดหรือผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้กระทำความผิดได้ทรัพย์สินนั้นมาจากผู้เป็นเจ้าของโดยการกระทำความผิดทางอาญา
      *[มาตรา 15 ตรี เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

      มาตรา 15 จัตวา* ถ้าทรัพย์สินและของกลางที่ยึดหรืออายัดไว้ตาม

      มาตรา 15 ทวิ หรือมาตรา 15 เบญจ จะเป็นการเสี่ยงต่อความเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาจะเกินค่าของทรัพย์สิน อธิบดีอาจดำเนินการดังต่อไปนี้
      (1) จัดการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินหรือของกลางก่อนครบกำหนดเวลาตามมาตรา 15 ทวิ วรรคสอง หรือมาตรา 15 เบญจ วรรคสอง
แล้วแต่กรณี เมื่อได้เงินเป็นสุทธิเท่าใดให้ยึดไว้แทนทรัพย์สินหรือของกลางนั้นหรือ
      (2) ถ้าการนำทรัพย์สินหรือของกลางที่ยึดหรืออายัดไว้ไปใช้ประโยชน์จะเป็นการบรรเทาความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาก็ให้นำทรัพย์สิน
หรือของกลางนั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ของทางราชการได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด
      ก่อนที่จะสั่งดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำ หน่ายในท้องถิ่นอย่างน้อยสองวันติดต่อกันเพื่อให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายทราบ เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับทรัพย์สินหรือของกลางดังกล่าวไปเก็บรักษาด้วยตนเองได้ภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่
กำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันแรกที่ประกาศในหนังสือพิมพ์ และถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองทำสัญญาไว้กับกรมทรัพยากรธรณีว่า จะเก็บรักษา
ทรัพย์สินหรือของกลางดังกล่าวโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการ รวมทั้งจัดหาประกันหรือหลักประกันให้แก่ทางราชการ ตามเงื่อนไขที่กำหนดใน
กฎกระทรวง ก็ให้อธิบดีมอบทรัพย์สินหรือของกลางดังกล่าวให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองเป็นผู้เก็บรักษาไว้ แต่ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองนำ
ทรัพย์สินหรือของกลางดังกล่าวไปใช้หรือแสวงหาประโยชน์ ไม่ว่าด้วยประการใดๆ
      ในกรณีที่ไม่ปรากฏตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครองมาขอรับทรัพย์สินหรือ
ของกลางไปเก็บรักษาหรือปรากฏเจ้าของหรือผู้ครอบครองแต่บุคคลดังกล่าวไม่ยอมทำสัญญาต ามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงให้อธิบดีสั่งดำเนินการ
ตามวรรคหนึ่งได้ หรือในกรณีที่มีการทำสัญญา แต่เจ้าของหรือผู้ครอบครองปฏิบัติผิดสัญญาหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา ให้อธิบดีเรียก
ทรัพย์สินหรือของกลางดังกล่าวคืนจากเจ้าของหรือผู้ครอบครอง และมีอำนาจสั่งให้ดำเนินการบังคับตามสัญญาประกันและดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้
      หลักเกณฑ์และวิธีการในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) และ(2) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และในกรณีเช่นนี้ เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองจะฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าตอบแทนใด ๆ จากทางราชการอันเนื่องมาจากการดำเนินการ หรือการนำทรัพย์สินหรือของกลางที่ยึดหรือ
อายัดไปใช้ประโยชน์ของทางราชการดังกล่าวมิได้
      *[มาตรา 15 จัตวา เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

      มาตรา 15 เบญจ* ในกรณีที่มีการยึดของกลางที่ต้องสงสัยในการกระทำความผิดโดยไม่ปรากฏตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ผู้ยึดส่งมอบของกลางให้แก่ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่หรือเจ้าหน้าที่ที่อธิบดีกำหนด เพื่อเก็บรักษาไว้ และให้อธิบดีหรือผู้ซ ึ่งอธิบดีมอบหมายมี
อำนาจประกาศหาตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครองเพื่อให้บุคคลดังกล่าวไปแสดงหลักฐานเพื่อขอรับของกลางคืน
      การประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้ปิดประกาศไว้ที่สำนักงานทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ที่มีการยึดของกลางนั้น และให้ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวัน
ที่มีจำหน่ายในท้องถิ่นอย่างน้อยสองวันติดต่อกัน เจ้าของหรือผู้ครอบครองมีสิทธิที่จะไปแสดงตัวต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่หรือเจ้าหน้าที่ที่อธิบดี
ระบุไว้ในประกาศ เพื่อขอรับของกลางคืนภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันแรกที่มีประกาศในหนังสือพิมพ์
      ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดแสดงตัวเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองเพื่อขอรับของกลางคืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ของกลางนั้นตกเป็นของ
แผ่นดิน แต่ถ้ามีบุคคลใดแสดงตัวเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองและขอรับของกลางคืนภายในกำหนดเวลา ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายดำเนินการ
ตามกฎหมายต่อไป
      ในกรณีที่ปรากฏว่า ผู้ที่แสดงตัวเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองตามวรรคหนึ่งเป็นบุคคลที่พนักงานอัยการได้ พิจารณาแล้วและมีคำสั่งเด็ดขาด
ไม่ฟ้องคดี หรือเป็นบุคคลที่ปรากฏหลักฐานในขณะสอบสวนแล้วว่ามิใช่เป็นผู้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดหรือมิใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครอง ให้
อธิบดีมีหนังสือแจ้งให้บุคคลดังกล่าวดำเนินการใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลเพื่อขอรับของกลางคืน ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากอธิบดี หาก
มิได้ใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าบุคคลนั้นมิใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินนั้น
      *[มาตรา 15 เบญจ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

      มาตรา 16 พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีบัตรประจำตัวตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง และในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องแสดงบัตร
ประจำตัวเมื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องร้องขอ

      มาตรา 17* ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวง
      (1) กำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี ้
      (2) กำหนดแบบพิมพ์อาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร และใบอนุญาต
      (3) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสำรวจแร่ตามอาชญาบัตร การอนุรักษ์แร่ และการทำเหมือง
      (3 ทวิ)* กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมืองและเลิกรับช่วงการทำเหมือง
      *[(3 ทวิ) เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]
      (3 ตรี)* กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้ได้มาซึ่งน้ำเกลือใต้ดินโดยการขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินตลอดถึงการทำเกลือจากน้ำเกลือ
ใต้ดิน
      *[(3 ตรี) เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534]
      (4) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการซื้อแร่ การขายแร่ การเก็บแร่ การครอบครองแร่ และการขนแร่
      (5) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแต่งแร่ การประกอบโลหกรรม และการนำแร่เข้าหรือการส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักร
      (6) กำหนดวิธีการให้ความคุ้มครองแก่คนงานและความปลอดภัยแก่บุคคลภายนอก
      (7) กำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระท รวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
      *[มาตรา 17 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

หมวด 2
คณะกรรมการ
_______________________

      มาตรา 18* ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง ประกอบด้วยปลัดกระทรวง อุตสาหกรรมเป็นประธาน อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี อธิบดี
กรมที่ดิน อธิบดีกรมป่าไม้ หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมดังกล่าวมอบหมาย และบุคคลอื่นซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่เกินสามคนเป็นกรรมการ ผู้อำนวยการกอง กองสัมปทาน
กรมทรัพยากรธรณี เป็นกรรมการและเลขานุการ
      *[มาตรา 18 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 19* ให้คณะกรรมการมีหน้าที่ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และความเห็นแก่รัฐมนตรีในเรื่องดังต่อไปนี้
      (1) การออกอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ อาชญาบัตรพิเศษ ประทานบัตรชั่วคราว และประทานบัตรในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือพื้นที่
เขตหวงห้ามของทางราชการ
      ( 2) การต่ออายุอาชญาบัตรพิเศษ และประทานบัตร
      (3) การอนุญาตให้โอนประทานบัตร
      (4) การสั่งเพิกถอนอาชญาบัตร และประทานบัตร
      (5) เรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
      *[มาตรา 19 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

      มาตรา 20 กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปีกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้

      มาตรา 21* กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระเมื่อ
      (1) ตาย
      (2) ลาออก
      (3) รัฐมนตรีให้ออก
      (4) เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
      (5) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่คดีที่เป็นความผิดลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
      เมื่อกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ รัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นแทนได้
      กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามวรรคสองอยู่ในตำแหน่งตามวาระของกรรมการซึ่งตนแทน
      *[มาตรา 21 แก้ไข โดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 22 การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุม ไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุม
      ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม

      มาตรา 23 การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุม ให้ถือเสียงข้างมาก
      กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

      มาตรา 24 ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ถ้าคณะกรรมการเห็นสมควรจะแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อให้ทำการใด ๆ ตามที่มอบหมาย หรือจะเชิญบุคคลใด
มาให้ข้อเท็จจริง คำอธิบาย คำแนะนำ หรือความเห็น ก็ให้กระทำได้
      ให้นำมาตรา 22 และมาตรา 23 มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม

หมวด 3
การสำรวจแร่และการผูกขาดสำรวจแร่
____________________

      มาตรา 25 * ห้ามมิให้ผู้ใดสำรวจแร่ในที่ใด ไม่ว่าที่ซึ่งสำรวจแร่นั้นจะเป็นสิทธิของบุคคลใดหรือไม่ เว้นแต่จะได้รับอาชญาบัตรสำรวจแร่ อาชญาบัตร
ผูกขาดสำรวจแร่ หรืออาชญาบัตรพิเศษ
      *[มาตรา 25 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 26* นอกจากค่าธรรมเนียมการออกอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ หรืออาชญาบัตรพิเศษ ผู้ถืออาชญาบัตรนั้นต้องเสียค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่
ซึ่งได้รับอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่หรืออาชญาบัตรพิเศษอีกต่างหาก และต้องชำระล่วงหน้า
      การชำระค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ล่วงหน้าอาจได้รับผ่อนผันให้ชำระเป็นงวด โดยมีประกันด้วยบุคคลหรือทรัพย์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
      *[มาตรา 26 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

มาตรา 27* อาชญาบัตรสำรวจแร่ อาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ หรืออาชญาบัตรพิเศษ ให้ใช้ได้เฉพาะตัวผู้ถืออาชญาบัตรและให้คุ้มถึงลูกจ้างของ
ผู้ถืออาชญาบัตรด้วย
*[มาตรา 27 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

มาตรา 28* ผู้ใดประสงค์จะขออาชญาบัตรสำรวจแร่ ให้ยื่นคำขอต่อท รัพยากรธรณีประจำท้องที่ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่เป็นผู้ออกอาชญาบัตรสำรวจแร่
      อาชญาบัตรสำรวจแร่ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันออก
      ผู้ถืออาชญาบัตรสำรวจแร่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในอาชญาบัตรสำรวจแร่
      *[มาตรา 28 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 29* ผู้ใดประสงค์จะขออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ ให้ยื่น คำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่
      คำขออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่แต่ละคำขอจะขอได้ไม่เกินสองพันห้าร้อยไร่ เว้นแต่คำขออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ในทะเล
      รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายเป็นผู้ออกอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่อาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันออก
      ผู้ถืออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่
      *[มาตรา 29 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 30* การออกอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ในทะเล รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่ง รัฐมนตรีมอบหมายมีอำนาจกำหนดเนื้อที่ให้แก่ผู้ขอแต่ละบุคคลได้ไม่
เกินห้าแสนไร่และกำหนดอายุอาชญาบัตรได้ไม่เกินสองปีนับแต่วันออก
      *[มาตรา 30 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 31* ผู้ถืออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ ต้องลงมือสำรวจแร่ ภายในหกสิบวัน นับแต่วันได้รับอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ และต้องยื่นรายงาน
ผลการดำเนินงาน และการสำรวจที่กระทำไปในระยะเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันได้รับอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ ตามแบบที่กรมทรัพยากรธรณีกำหนด
ต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ ภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นกำหนดนั้น และต้องยื่นรายงานผลการดำเนินงานและการสำรวจที่ได้กระทำไปภายหลังนั้น ภายใน
สามสิบวันก่อนอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่สิ้นอายุ
      รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่เสียได้ เมื่อผู้ถืออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ไม่ปฏิบัติตาม
เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่
      *[มาตรา 31 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 32* อาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ให้สิ้นสุดลงก่อนอายุที่กำหนดไว้ในอาชญาบัตรนั้น ในกรณีดังต่อไปนี้
      (1) เมื่อผู้ถืออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาตาย
      (2) เมื่อผู้ถืออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ซึ่งเป็นนิติบุคคลสิ้นสภาพนิติบุคคล
      (3) เมื่อผู้ถืออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ขาดคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 6 วรรคสอง
      (4) เมื่อผู้ถืออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ไม่รายงานผลการดำเนินงานและการสำรวจที่กระทำไปในรอบหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันได้รับ
อาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ ภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นกำหนดนั้น
      (5) เมื่อรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายมีคำสั่งเพิกถอนอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่นั้น นับแต่วันรับแจ้งคำสั่งเพิกถอน
      *[มาตรา 32 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 33* ผู้ใดประสงค์จะขออาชญาบัตรพิเศษ ให้ยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่
      *ผู้ยื่นคำขออาชญาบัตรพิเศษต้องกำหนดข้อผูกพันสำหรับการสำรวจ โดยระบุปริมาณเงินที่จะใช้จ่ายเพื่อการสำรวจสำหรับ แต่ละปีตลอดอายุของอาชญาบัตร
พิเศษ และผู้ยื่นคำขออาชญาบัตรพิเศษจะเสนอให้ผลประโยชน์พิเศษเพื่อประโยชน์แก่รัฐตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีกำหนดด้วยก็ได้ และให้ผลประโยชน์พิเศษเพื่อ ประโยชน์แก่รัฐดังกล่าวมีผลผูกพันผู้ถืออาชญาบัตรพิเศษต่อไปด้วย เมื่อผู้ถืออาชญาบัตรพิเศษนั้นได้รับประทานบัตรชั่วคราวหรือประทานบัตรสำหรับการทำ
เหมืองแร่ในเขตเนื้อที่ที่ตนได้รับอาชญาบัตรพิเศษนั้นด้วย
      *คำขออาชญาบัตรพิเศษแต่ละคำขอจะขอได้ไม่เกินหนึ่งหมื่นไร่
      *รัฐมนตรีเป็นผู้ออกอาชญาบัตรพิเศษ
      *อาชญาบัตรพิเศษให้มีอายุไม่เกินสามปีนับแต่วันออก
      *ผู้ถืออาชญาบัตรพิเศษต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อผูกพันสำหรับการ สำรวจของแต่ละปีที่กำหนดไว้ในอาชญาบัตรพิเศษ
      *[มาตรา 33 วรรคหนึ่ง วรรคสาม วรรคห้า และวรรหก แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]
      *[มาตรา 33 วรรคสอง แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

      มาตรา 34* เมื่อได้รับคำขออาชญาบัตรผู กขาดสำรวจแร่ หรืออาชญาบัตรพิเศษแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้กำหนดเขตพื้นที่อาชญาบัตรผูกขาด
สำรวจแร่ หรืออาชญาบัตรพิเศษ การกำหนดเขตพื้นที่ดังกล่าว จะกระทำโดยการรังวัดหรือวิธีอื่นก็ได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
      ในกรณีที่มีการกำหนดเขตโดยการรังวัด ให้ผู้ยื่นคำขอหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายเป็นผู้นำรังวัดตามวัน เวลา และสถานที่ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด
เป็นหนังสือ
      อธิบดีมีอำนาจสั่งยกคำขออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่หรือคำขออาชญาบัตรพิเศษเสียได้ เมื่อผู้ยื่นคำขอ
      (1) ขาดนัดในการนำรังวัดตามวรรคสองโดยไม่มีเหตุอันสมควร
      (2) ละเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งในการดำเนินการตามความจำเป็นเพื่อออกอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่หรือ อาชญาบัตรพิเศษ หรือ
      (3) กระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติบทหนึ่งบทใด ในหมวด 3 หรือหมวด 4 หรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำเช่นว่านั้น
      *[มาตรา 34 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 35* อาชญาบัตรพิเศษจะออกทับเขตเนื้อที่ซึ่งมีผู้ได้รับอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ อาชญาบัตรพิเศษ ประทานบัตรชั่วคราว หรือ
ประทานบัตรอยู่แล้วมิได้
      ถ้ามีเขตเนื้อที่ซึ่งมีผู้ได้รับอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ อาชญาบัตรพิเศษ ประทานบัตรชั่วคราว หรือประทานบัตรอยู่แล้วในเขตคำขอ การออก
อาชญาบัตรพิเศษจะกระทำได้โดยกันเขตเนื้อที่ซึ่งมีผู้ถืออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ อาชญาบัตรพิเศษ ประทานบัตรชั่วคราว หรือประทานบัตรอยู่แล้ว
ในเขตคำขอนั้นออก
      *[มาตรา 35 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 36* เมื่อสิ้นรอบปีข้อผูกพันใด ถ้าผู้ถืออาชญาบัตรพิเศษยัง ปฏิบัติตามข้อผูกพันตามมาตรา 33 สำหรับการสำรวจในรอบปีนั้นไม่ครบถ้วน
ผู้ถืออาชญาบัตรพิเศษต้องจ่ายเงินเท่ากับจำนวนที่ยังมิได้ใช้จ่ายเพื่อการสำรวจในรอบปีข้อผูกพันนั้นให้แก่กรมทรัพยากรธรณีภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันสิ้น
รอบปีข้อผูกพันดังกล่าว
      ในการสำรวจถ้าผู้ถืออาชญาบัตรพิเศษได้ใช้จ่ายในรอบปีข้อผูกพันใดเกินข้อผูกพันที่กำหนดไว้สำหรับรอบปีข้อผูกพันนั้น ให้มีสิท ธิหักปริมาณเงินส่วน
ที่เกินออกจากข้อผูกพันสำหรับการสำรวจในรอบปีข้อผูกพันปีต่อไปได้
      *[มาตรา 36 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 37* ผู้ถืออาชญาบัตรพิเศษซึ่งได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการสำรวจเงื่อนไขและข้อผูกพันสำหรับการสำรวจตามที่กำหนดในอาชญาบัตร
พิเศษทุกประการแล้ว จะขอต่ออายุอาชญาบัตรพิเศษก็ได้ โดยยื่นคำขอก่อนอาชญาบัตรพิเศษสิ้นอายุไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน รัฐมนตรีจะต่ออายุอาชญาบัตร
พิเศษให้อีกก็ได้เป็นเวลาไม่เกินสองปีภายใต้ข้อกำหนด ข้อผูกพันและเงื่อนไขตามที่รัฐมนตรีกำหนด
      ในการขอต่ออายุอาชญาบัตรพิเศษ ผู้ถืออาชญาบัตรพิเศษอาจขอคืนพื้นที่บางส่วนที่ไม่ประสงค์จะสำรวจก็ได้
      *[มาตรา 37 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 38* [ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 39* [ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 40* ผู้ถืออาชญาบัตรพิเศษต้องลงมือสำรวจแร่ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับอาชญาบัตรพิเศษ และต้องรายงานผลการดำเนินงานและการ
สำรวจให้กรมทรัพยากรธรณีทราบทุกรอบระยะเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันได้รับอาชญาบัตรพิเศษนั้น
      *[มาตรา 40 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 41* รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนอาชญาบัตรพิเศษนั้นเสียได้เมื่อผู้ถืออาชญาบัตรพิเศษไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 วรรคหก หรือมาตรา 40
      *[มาตรา 41 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 42* [ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

หมวด 4
การทำเหมือง
_______________________________

      มาตรา 43* ห้ามมิให้ผู้ใดทำเหมืองในที่ใดไม่ว่าที่ซึ่งทำเหมืองนั้นจะเป็นสิทธิของบุคคลใดหรือไม่ เว้นแต่จะได้รับประทานบัตรชั่วคราวหรือ
ประทานบัตร
      *[มาตรา 43 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 44* ผู้ใดประสงค์จะขอประทานบัต ร ให้ยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่พร้อมด้วยหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าพบแร่หรือมีแร่ชนิดที่ประสงค์จะ
เปิดการทำเหมืองอยู่ในเขตคำขอนั้น และผู้ยื่นคำขอจะเสนอให้ผลประโยชน์พิเศษเพื่อประโยชน์แก่รัฐในกรณีที่ได้รับประทานบัตรตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีกำหนด
ด้วยก็ได้
      คำขอประทานบัตรแต่ละคำขอจะขอได้เขตหนึ่งไม่เกินสามร้อยไร่ เว้นแต่คำขอประทานบัตรทำเหมืองในทะเล
      *[มาตรา 44 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

      มาตรา 45* ในการออกประทานบัตรทำเหมืองในทะเล รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดเขตเหมืองแร่ให้แก่ผู้ขอไม่เกินรายละห้าหมื่นไร่ เว้นแต่ในกรณี
ที่รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรกำหนดเขตเหมืองแร่ให้ผู้ขอเกินห้าหมื่นไร่
      ในการออกประทานบัตรตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆเป็นพิเศษตามที่เห็นสมควรให้ผู้ถือประทานบัตรปฏิบัติก็ได้
      *[มาตรา 45 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

      มาตรา 46* ในเขตเนื้อที่ซึ่งได้มีผ ู้ถืออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่หรืออาชญาบัตรพิเศษ ผู้อื่นจะยื่นคำขอประทานบัตรมิได้ เว้นแต่ผู้อื่นนั้นเป็นผู้มี
กรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองในที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดิน
      *[มาตรา 46 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 47* เมื่อได้รับคำขอประทานบัตรแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ กำหนดเขตพื้นที่ประทานบัตร การกำหนดเขตพื้นที่ดังกล่าวจะกระทำโดย
การรังวัดหรือวิธีอื่นก็ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
      ในกรณีที่มีการกำหนดเขตโดยการรังวัด ให้ผู้ยื่นคำขอหรือผู้ซึ่งได้รับ
มอบหมายเป็นผู้นำรังวัดตามวัน เวลา และสถานที่ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดเป็นหนังสืออธิบดีมีอำนาจสั่งยกคำขอประทานบัตรเสียได้เมื่อผู้ยื่นคำขอ
      (1) ขาดนัดในการนำรังวัดตามวรรคสองโดยไม่มีเหตุอันสมควร
      (2) ละเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งในการดำเนินการตามความจำเป็นเพื่อออกประทานบัตร
      (3) กระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติบทหนึ่งบทใดในหมวด 3หรือหมวด 4 หรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำเช่นว่านั้น หรื อ
      (4) เมื่อปรากฏว่าแร่ชนิดที่ประสงค์จะเปิดการทำเหมืองในเขตคำขอมีไม่เพียงพอที่จะเปิดการทำเหมืองได้
      *[มาตรา 47 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 48 เพื่อประโยชน์แก่การรังวัด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่และคนงานของพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในที่ดินของผู้มีสิทธิในที่ดินหรือ
ผู้ครอบครองในเวลากลางวันได้ แต่จะต้องแจ้งให้ผู้มีสิทธิในที่ดินหรือผู้ครอบครองทราบเสียก่อนและให้ผู้มีสิทธิในที่ดินหรือผู้ครอบครองที่ดินนั้นอำนวยความสะดวก
ตามควรแก่กรณี
      ในกรณีต้องสร้างหมุดหลักฐานแผนที่ในที่ของผู้ใด พนักงานเจ้าหน้าที่และคนงานของพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสร้างหมุดหลักฐานลงได้ตามความ
จำเป็น
      ในการรังวัด เมื่อมีความจำเป็นและโดยสมควร พนักงานเจ้าหน้าที่และคนงานของพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะขุดดิน ตัดต้นไม้หรือรานกิ่งไม้
หรือกระทำการอย่างอื่นแก่สิ่งที่กีดขวางต่อการรังวัดได้เท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ให้คำนึงถึงการที่จะให้เจ้าขอ งได้รับความเสียหายน้อยที่สุด

      มาตรา 49* เมื่อได้กำหนดเขตแล้ว ให้ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ประกาศการขอประทานบัตรของผู้ยื่นคำขอ โดยปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ
สำนักงานทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ ที่ว่าการอำเภอหรือที่ว่าการกิ่งอำเภอและที่ทำการกำนันแห่งท้องที่ซึ่งขอประทานบัตรแห่งละหนึ่งฉบับ เมื่อไม่มีผู้โต้แย้ง
ภายในยี่สิบวันนับแต่วันปิดประกาศ ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่จะได้ดำเนินการสำหรับคำขอนั้นต่อไป
      *[มาตรา 49 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 50 ถ้าที่ซึ่งขอประทานบัตรเป็นที่อันมิใช่ที่ว่าง หรือมีที่อันมิใช่ที่ว่างรวมอยู่ในเขต ผู้ยื่นคำขอต้องแสดงหลักฐานให้เป็นที่พอใจของพนักงานเจ้าหน้าที่ว่า ผู้ขอจะมีสิทธิทำเหมืองในเขตที่นั้นได้
      ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอนำหนังสืออนุญาตของผู้มีสิทธิในที่นั้นมาแสดงว่าผู้ขอจะมีสิทธิทำเหมืองได้ หนังสือนั้นต้องมีคำรับรองของนายอำเภอประจำท้องที่ประกอบด้วย

      มาตรา 51* เมื่อได้กำหนดเขตแล้ว ถ้าผู้ยื่นคำขอประทานบัตรประสงค์จะลงมือทำเหมืองก่อนได้รับประทานบัตร ให้ยื่นคำขอรับประทานบัต รชั่วคราว
ต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่
      รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายเป็นผู้ออก
      ประทานบัตรชั่วคราวประทานบัตรชั่วคราวให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันออก ในกรณีที่มีคำสั่งยกคำขอประทานบัตรตามมาตรา 47 วรรคสาม ให้ประทานบัตรชั่วคราวสิ้นอายุนับแต่วันสั่งยกคำขอนั้นผู้ถือประทานบัตรชั่วคราวมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดตามพระราชบัญญัตินี้เช่นเดียวกับผู้ถือประทานบัตร
      การโอนประทานบัตรชั่วคราวจะกระทำมิได้ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราวตายหรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถก็ให้ทายาทหรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี เป็นผู้ถือประทานบัตรชั่วคราวต่อไป และให้นำมาตรา 81 มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อมีการออกประทานบัตร ก็ให้ออกประทานบัตรให้แก่ทายาทหรือให้แก่ผู้อนุบาลถือไว้แทนผู้ยื่นคำขอ*[มาตรา 51 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 52 หลักหมายเขตเหมืองแร่ หรือหมุดหลักฐานการแผนที่ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำไว้ในกา รรังวัดกำหนดเขตการทำเหมืองนั้น ถ้ามี
การสูญหาย ผู้ถือประทานบัตรมีหน้าที่ต้องรับผิดสำหรับค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นในการที่จะต้องมีการรังวัดทำหลักหมายเขตเหมืองแร่หรือหมุดหลักฐานการแผนที่ใหม่

      มาตรา 53* รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนประทานบัตรชั่วคราวได้ในกรณีที่มีเหตุที่จะเพิกถอนประทานบัตรตามพระราชบัญญัติ
นี้ เกิดขึ้น
      เมื่อรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายได้สั่งเพิกถอนประทานบัตรชั่วคราวรายใดแล้ว ให้คำขอประทานบัตรรายนั้นเป็นอันตกไป
      *[มาตรา 53 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 54 รัฐมนตรีเป็นผู้ออกประทานบัตร
      *ประทานบัตรให้มีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีนับแต่วันออก และในกรณีที่ผู้ขอประทานบัตรได้รับประทานบัตรชั่วคราวอยู่ก่อนแล้ว ให้นับอายุประทานบัตรเริ่มต้นแต่วันออกประทานบัตรชั่วคราวฉบับแรก
      *ในกรณีที่อายุของประทานบัตรชั่วคราวรายใดที่ได้ออกให้แล้วรวมกันมากกว่ากำหนดอายุของประทานบัตรที่จะออกให้ ก็ให้งดการออกประทานบัตรรายนั้นประทานบัตรใดได้กำหนดอายุไว้ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี       เมื่อผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่ออายุก่อนครบกำหนดไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันต่อทรัพยากรธรณี
ประจำท้องที่ รัฐมนตรีจะต่ออายุประทานบัตรให้อีกก็ได้ แต่เมื่อรวมกำหนดเวลาทั้งหมดต้องไม่เกินยี่สิบห้าปีเมื่อผู้ถือประทานบัตรได้ยื่นคำขอต่ออายุตามความในวรรคสี่แล้ว
แม้ประทานบัตรจะสิ้นอายุแล้ว ก็ให้ผู้นั้นทำเหมืองต่อไปได้เสมือนเป็นผู้ถือประทานบัตร ทั้งนี้ ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประทานบัตรสิ้นอายุ
แต่ถ้าทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ได้มีหนังสือแจ้งการปฏิเสธของรัฐมนตรีไม่ต่ออายุประทานบัตรให้ในระหว่างเวลานั้น ก็ให้ถือว่าสิทธิในการทำเหมือง
ของผู้นั้นสิ้นสุดลงนับแต่วันรับแจ้งนั้น
      *[มาตรา 54 วรรคสอง และวรรคสาม แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 55* นอกจากค่าธรรมเนียมการออกประทานบัตรชั่วคราวหรือประทานบัตร ให้ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราวหรือผู้ถือประทานบัตร เสีย
ค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ในการทำเหมืองทุกปีตามจำนวนเนื้อที่ตลอดเขตเหมืองแร่ โดยต้องชำระล่วงหน้าแต่ละปี และต้องเสียเงินบำรุงพิเศษในอัตรา
ไม่เกินร้อยละสิบของค่าภาคหลวงแร่ที่ผลิตได้จากประทานบัตรชั่วคราวหรือประทานบัตร ให้กรมทรัพยากรธรณีเก็บรักษาเงินบำรุงพิเศษดังกล่าวไว้เพื่อ
จัดสรรสำหรับใช้จ่ายในการฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้ใช้ทำเหมืองแล้ว การป้องกันและ

ปราบปรามการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และการใช้จ่ายในการบำรุงท้องถิ่นในจังหวัดที่มีการทำเหมืองอัตราการเสียเงินบำรุงพิเศษ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเรียกเก็บเงินบำรุงพิเศษ รวมตลอดทั้งการจัดสรรเงินบำรุงพิเศษ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
      *[มาตรา 55 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

      มาตรา 56 สิทธิตามประทานบัตรไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

      มาตรา 57 ผู้ถือประทานบัตรจะต้องทำเหมืองตามวิธีการทำเหมืองแผนผัง โครงการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในการออกประทานบัตร และถ้า
จะมีการเพิ่มเติมชนิดของแร่ที่จะทำเหมืองหรือเปลี่ยนแปลงวิธีการทำเหมือ งแผนผัง โครงการ และเงื่อนไขดังกล่าว ผู้ถือประทานบัตรจะต้องได้รับอนุญาต
เป็นหนังสือจากอธิบดีก่อนจึงจะทำได้

      มาตรา 58* การเตรียมการเพื่อการทำเหมือง เช่น การปลูกสร้างอาคาร ขุดทางน้ำ ทำทำนบหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในเขตเหมืองแร่
เพื่อประโยชน์แก่การทำเหมืองรวมถึงการก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องทุ่นแรงให้ถือว่าเป็นการทำเหมือง
      *[มาตรา 58 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 59 การปลูกสร้างอาคารเกี่ยวกับการทำเหมือง การจัดตั้งสถานที่เพื่อการแต่งแร่หรือการเก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายจะกระทำนอก
เขตเหมืองแร่มิได้ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากทรัพยากรธรณีประจำท้องที่และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตนั้น
      ผู้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ในการนั้นเสมือนหนึ่งการใช้เนื้อที่ในการทำเหมือง

      มาตรา 60 ผู้ถือประทานบัตรต้องทำเหมืองโดยมีคนงานในการทำเหมือง และเวลาทำการดังนี้
      ( 1) ต้องมีคนงานทำการทุก ๆ ระยะเวลาสิบสองเดือน เมื่อเฉลี่ยเป็นรายเดือนแล้ว ไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งคนต่อเนื้อที่สองไร่ เศษของสองไร่ให้นับเป็นสองไร่ แต่สำหรับกรณีที่การทำเหมืองใช้เครื่องกลทุ่นแรงให้คำนวณกำลังของเครื่องกลทุ่นแรงนั้นแทนคนงานที่ต้องมีตามเนื้อที่นั้นได้โดยอัตราหนึ่งแรงม้าต่อแปดคน
      (2) ต้องมีเวลาทำการรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันในทุก ๆระยะเวลาสิบสองเดือน
      ในกรณีที่ผู้ถือประทานบัตรคนเดียวมีประทานบัตรหลายฉบับ สำหรับ
ประทานบัตรที่มีเขตติดต่อกัน ให้ถือเป็นเหมืองเดียวกันในการมีคนงานทำการและเวลาทำการดังเกณฑ์ที่กล่าวข้างต้น       ผู้ถือประทานบัตรหลายคนที่มีเขตเหมืองแร่ติดต่อกันอาจร่วมโครงการทำเหมืองเป็นเหมืองเดียวกันได้ โดยยื่นคำขอและรับใบอนุญาตจากทรัพยากร
ธรณีประจำท้องที่ ในการนี้ให้ใช้เกณฑ์มีคนงานทำการและเวลาทำการเสมือนเป็นเหมืองเดียวกันดังกล่าวข้างต้น
      *ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ถือประทานบัตรในระยะเวลาหนึ่งปีแรกนับแต่วันได้รับประทานบัตร หากได้รับการยกเว้นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระ ทรวง*[มาตรา 60 วรรคสี่ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 61* ถ้าผู้ถือประทานบัตรไม่สามารถทำเหมืองตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 60 เนื่องจากมีเหตุขัดข้องอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กำหนดใน
กฎกระทรวง ก็ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตหยุดการทำเหมืองตลอดทั้งเขต หรือบางส่วนของเขตเหมืองแร่ต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ ทรัพยากรธรณีประจำ
ท้องที่จะออกใบอนุญาตหยุดการทำเหมืองให้ผู้ถือประทานบัตรได้คราวละไม่เกินหนึ่งปี
      *[มาตรา 61 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 62 ห้ามมิให้ผู้ถือประทานบัตรทำเหมืองใกล้ทางหลวงหรือทางน้ำสาธารณะภายในระยะห้าสิบเมตร เว้นแต่ประทานบัตรกำหนดไว้
ให้ทำได้ หรือได้รับใบอนุญาตจากทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตนั้น

      มาตรา 63 ห้ามมิให้ผู้ถือประทานบัตรปิดกั้น ทำลาย หรือกระทำด้วยประการใดให้เป็นการเสื่อมประโยชน์แก่ทางหลวงหรือทางน้ำสาธารณะ
เว้นแต่จ ะได้รับใบอนุญาตจากทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตนั้น

      มาตรา 64 ห้ามมิให้ผู้ถือประทานบัตรทดน้ำหรือชักน้ำจากทางน้ำสาธารณะไม่ว่าจะอยู่ภายในหรือภายนอกเขตเหมืองแร่ เว้นแต่จะได้รับ
ใบอนุญาตจากทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตนั้น
      คำขอรับใบอนุญาตทดน้ำหรือชักน้ำจากทางน้ำสาธารณะให้แสดงแผนที่และวิธีการที่จะทดน้ำหรือชักน้ำโดยละเอียด

      มาตรา 65 ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่มีอำนาจออกใบอนุญาตให้ผู้ถือประทานบัตรในเขตเหมืองแร่รายหนึ่งทำทางไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำ
หรือทางถ่ายน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายผ่านเขตเหมืองแร่ของผู้ถือประทานบัตรรายอื่นได้ แต่ถ้าได้ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นเพราะการนั้น ผู้ถือประทานบัตร
ซึ่งได้รับใบอนุญาตดังกล่าวต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน

      มาตรา 66 ในกรณีจำเป็นรัฐมนตรีมีอำนาจออกใบอนุญาตให้ผู้ถือประทานบัตรในเขตเหมืองแร่รายหนึ่งปล่อยน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายเพ ื่อ
เก็บขังในเขตเหมืองแร่ของผู้ถือประทานบัตรรายอื่นได้ เมื่อเขตที่จะเก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายนั้นเป็นที่ซึ่งขุดเอาแร่แล้ว หรือเป็นที่ซึ่งไม่มีแร่พอ
ทำเหมือง แต่ถ้าได้ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นเพราะการนั้น ผู้ถือประทานบัตรซึ่งได้รับใบอนุญาตดังกล่าวต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน
      ผู้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่แทนผู้ถือประทานบัตรรายที่ถูกใช้เนื้อที่สำหรับเนื้อที่ที่ใช้เก็บขังน้ำขุ่นข้น
หรือมูลดินทรายนั้น

      มาตรา 67 ห้ามมิให้ผู้ถือประทานบัตรปล่อยน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายอันเกิดจากการทำเหมืองออกนอกเขตเหมืองแร่ เว้นแต่น้ำนั้นจะมีความขุ่นข้น
หรือมูลดินทรายไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงใน
      กรณีจำเป็น รัฐมนตรีมีอำนาจออกใบอนุญาตยกเว้นการบังคับตามวรรคหนึ่งได้ โดยกำหนดเงื่อนไขตามที่เห็นสมควร

      มาตรา 68 น้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายที่ผู้ถือประทานบัตรปล่อยออกนอกเขตเหมืองแร่ แม้ได้ปฏิบัติตามมาตรา 67 แล้วก็ดี ผู้ถือประทานบัตรจะ
ต้องจัดการป้องกันมิให้น้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายนั้นไปทำให้ทางน้ำสาธารณะตื้นเ ขินหรือเสื่อมประโยชน์แก่การใช้ทางน้ำนั้น
      ในกรณีจำเป็นรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดทางน้ำสาธารณะ เพื่อให้ผู้ถือประทานบัตรรายหนึ่งหรือหลายรายใช้เป็นที่สำหรับปล่อยถ่ายน้ำขุ่นข้น
หรือมูลดินทราย โดยกำหนดให้ผู้ถือประทานบัตรเสียค่าตอบแทนเพื่อคุ้มค่าบำรุงรักษา และชดใช้ความเสียหาย และกำหนดเงื่อนไขตามที่เห็นสมควร

      มาตรา 69 ในการทำเหมืองหรือแต่งแร่ ห้ามมิให้ผู้ถือประทานบัตรกระทำหรือละเว้นกระทำการใดอันน่าจะเป็นเหตุให้แร่ที่มีพิษหรือสิ่งอื่นที่มีพิษ
ก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือทรัพย์สิน

      มาตรา 70 พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในเขตเหมืองแร่เพื่อตรวจการทำเหมืองได้ทุกเวลา ให้ผู้ครอบครองเขตเหมืองแร่นั้นอำนวยความ
สะดวกตามควรแก่กรณี และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือแก่ผู้ถือประทานบัตรให้จัดการป้องกันอันตรายอันอาจเกิดจากการทำเหมืองหรือแต่งแร่ได้

      มาตรา 71 ในกรณีที่ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ เห็นว่าการทำเหมืองหรือแต่งแร่จะเป็ นอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือทรัพย์สิน ให้มีอำนาจสั่งเป็น
หนังสือแก่ผู้ถือประทานบัตรให้เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขวิธีการทำเหมืองหรือแต่งแร่ตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายนั้นได้ และมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้หยุด
การทำเหมืองหรือแต่งแร่เสียทั้งสิ้น หรือส่วนหนึ่งส่วนใดได้ตามที่เห็นสมควร

      มาตรา 72 บรรดาขุม หลุม หรือปล่อง ที่ไม่ได้ใช้ในการทำเหมืองแล้ว ให้ผู้ถือประทานบัตรจัดการถมหรือทำที่ดินให้เป็นตามเดิมเสียทุกแห่ง
ไม่ว่าประทานบัตรนั้นจะสิ้นอายุแล้วหรือไม่ เว้นแต่ประทานบัตรได้กำหนดเป็นอย่างอื่น หรือทรัพยากรธรณีประจำท้องที่จะได้สั่งเป็นหนังสือกำหนดเป็นอย่างอื่น
ด้วยความเห็นชอบของอธิบดี
      ในกรณีที่มิได้มีการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ถือประทานบัตรนั้นจัดการถมหรือทำที่ดินให้เป็น
ตามเดิม ผู้ถือประทานบัตรต้องปฏิบัติให้เสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว

      มาตรา 73 ผู้ถือประทานบัตรมีสิทธิในเขตเหมืองแร่ เฉพาะแต่
      (1) ทำเหมืองและขายแร่ที่ระบุในประทานบัตร ส่วนแร่อื่นซึ่ง เป็นผลพลอยได้จากการทำเหมืองนั้น ผู้ถือประทานบัตรจะขายได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี
      (2) ปลูกสร้างอาคารหรือกระทำการอื่นเกี่ยวกับการทำเหมือง รวมทั้งการแต่งแร่หรือการเก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทราย
      (3) ใช้ที่ดินในเขตเหมืองแร่ ที่ขุดเอาแร่แล้วหรือที่มีแร่ไม่สมบูรณ์พอที่จะเปิดการทำเหมือง เพื่อเกษตรกรรมในระหว่างอายุประทานบัตร แต่ทั้งนี้ เมื่อสิ้นอายุประทานบัตรแล้วมิให้ถือว่าเป็นการได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง
      (4) นำคดีขึ้นสู่ศาลในกรณีที่มีผู้โต้แย้งหรือขัดขวางสิทธิในการทำเหมือง

      มาตรา 74 ห้ามมิให้ผู้ถือประทานบัตรนำหรือยอมให้ผู้อื่นนำมูลแร่ตลอดจนมูลดินทราย ออกจากเขตเหมืองแร่ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจาก
ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตนั้น

      มาตรา 75* ประทานบัตรให้ใช้ได้เฉพาะตัวผู้ถือประทานบัตรและให้คุ้มถึงลูกจ้างของผู้ถือประทานบัตรด้วย
      *[มาตรา 75 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2 516]

      มาตรา 76 ห้ามมิให้ผู้ถือประทานบัตรยอมให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมืองไม่ว่าเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของเขตเหมืองแร่ เว้นแต่จะ
ได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย
      *หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตรับช่วงการทำเหมืองและเลิกรับช่วงการทำเหมือง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
      *[มาตรา 76 วรรคสอง แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

      มาตรา 77 เมื่อผู้ถือประทานบัตรประสงค์จะให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมือง ให้ยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ ระบุบุคคลผู้จะรับช่วงการทำ
เหมืองในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ภายในอายุของประทานบัตรและส่วนของเขตเหมืองแร่ที่จะให้รับช่วงการทำเหมือง
      รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้มีการรับช่วงการทำเหมืองได้ตามที่จะพิจารณาเห็นสมควร และในการนี้จะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ในใบอนุญาตนั้นก็ได้ ผู้ถือประทานบัตรที่ได้ให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมืองดั งกล่าวในวรรคหนึ่ง คงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมาย และให้ผู้รับช่วงการทำเหมืองนั้นมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายเสมือนเป็นผู้ถือประทานบัตรด้วย

      มาตรา 78 ผู้ถือประทานบัตรผู้ใดประสงค์จะโอนประทานบัตรให้แก่ผู้อื่น ให้ผู้ถือประทานบัตรและผู้จะรับโอนยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่เพื่อเสนอตามลำดับไปยังรัฐมนตรี เมื่อรัฐมนตรีได้สั่งอนุญาตให้โอนได้
และเมื่อผู้ถือประทานบัตรได้ชำระหนี้สินตามพระราชบัญญัตินี้ ที่ค้างชำระแก่ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่แล้ว จึงจะทำการโอนประทานบัตรนั้นได้

      มาตรา 79 ในการโอนประทานบัตร ให้ผู้ถือประทานบัตรและผู้จะรับโอน หรือตัวแทนผู้รับมอบอำนาจ นำประทานบัตรและเอกสารเกี่ยวกับการ
ทำเหมืองมาจดทะเบียนการโอนต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่

      มาตรา 80 ในการโอนประทานบัตร นอกจากจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอโอน และค่าธรรมเนียมการโอนแล้ว ผู้โอนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในค่าตอบแทนการโอนสิทธิทำเหมืองที่ตนพึงได้รับอีกด้วย
      ค่าธรรมเนียมในค่าตอบแทนการโอนสิทธิทำเหมือง ให้เรียกเก็บเฉพาะแต่ในส่วนที่เป็นค่าตอบแทนการโอนสิทธิทำเหมืองตามประทานบัตร โดยไม่รวมถึงค่าตอบแทนการโอนทรัพย์สินอื่นใน
      กรณีที่ผู้โอนแจ้งว่าไม่มีค่าตอบแทนการโอนสิทธิทำเหมือง หรือในกรณีที่ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่เห็นว่าค่าตอบแทนการโอนสิทธิทำเหมืองที่แจ้งต่ำกว่าที่ควรให้ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ประเมินค่าสิทธิทำเหมือง ที่จะ
โอนตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดและให้นำจำนวนเงินค่าสิทธิทำเหมืองตามที่ประเมินนั้นมาคำนวณเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในค่าตอบแทนการโอนสิทธิทำ
เหมืองตามที่ประเมินนั้น
      การโอนประทานบัตรอันเป็นการให้โดยเสน่หาแก่บิดา มารดา สามี ภริยา หรือผู้สืบสันดานของผู้โอนเอง ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในค่าตอบแทน
การโอนสิทธิทำเหมือง

      มาตรา 81 ในกรณีที่ผู้ถือประทานบัตรตาย ให้ทายาทยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่เพื่อรับโอนประทานบัตรโดยการตกทอดภายใน
เก้าสิบวันนับแต่วันผู้ถือประทานบัตรตาย มิฉะนั้นให้ถือว่าประทานบัตรนั้นสิ้นอายุเมื่อครบเก้าสิบวันนั้น
      การโอนประทานบัตรโดยการตก ทอด ผู้รับโอนไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในค่าตอบแทนการโอนสิทธิทำเหมืองใน
      กรณีที่ทายาทของผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอรับโอนประทานบัตรโดยการตกทอดภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ก็ให้ผู้นั้นทำเหมืองต่อไปได้เสมือนเป็นผู้ถือประทานบัตร แต่ถ้ารัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าทายาทนั้นไม่สมควรจะเป็นผู้รับโอนประทานบัตร รัฐมนตรีจะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้รับโอนก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าประทานบัตรนั้นสิ้นอายุนับแต่วันรับแจ้งคำสั่งนั้นจากทรัพยากรธรณีประจำท้องที่
      ในกรณีที่ผู้ถือประทานบัตรถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ให้นำความในสามวรรคก่อนมาใช้บังคับแก่ผู้อนุบาลโดยอนุโลม

      มาตรา 82 ในกรณีที่ผู้ถือประทานบัตรซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย ประทานบัตรนั้นเป็นอันสิ้นอายุ

      มาตรา 83 ในกรณีที่ผู้ถือประทานบัตรเป็นนิติบุคคลและสภาพนิติบุคคลสิ้นสุดลง ประทานบัตรนั้นเป็นอันสิ้นอายุ

      มาตรา 84 ผู้ถือประทานบัตรอาจเวนคืนประทานบัตรได้โดยยื่นคำข อและมอบประทานบัตรต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ ในกรณีเช่นนี้ให้ประทานบัตรนั้น
สิ้นอายุเมื่อครบกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ได้รับคำขอเวนคืนประทานบัตรนั้น เว้นแต่ผู้ถือประทานบัตรกับทรัพยากรธรณีประจำ
ท้องที่จะตกลงกันให้สิ้นอายุในระยะเวลาน้อยกว่านั้น

      มาตรา 85 ในกรณีที่ผู้ถือประทานบัตรไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ไม่อาจติดต่อถึงได้ รัฐมนตรีมีอำนาจสั่ง
เพิกถอนประทานบัตรนั้นเสียได้

      มาตรา 86 ผู้ถือประทานบัตรใดไม่ชำระหนี้อันพึงต้องชำระตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือให้
ชำระแล้ว และไม่ชำระภายในเก้าสิบวันนับแต่วันรับคำบอกกล่าว รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนประทานบัตรนั้นเสียได้

      มาตรา 87 ในกรณีที่รัฐมนตรีมีคำสั่งเพิกถอนประทานบัตรใด ประทานบัตรนั้นเป็นอันสิ้นอายุนับแต่วันรับแจ้งคำสั่งนั้นจากทรัพยากรธรณีประจำ
ท้องที่

      มาตรา 88 เมื่อประทานบัตรใดสิ้นอายุ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่ ออายุ และยังมิได้มีการ
ปฏิเสธของรัฐมนตรีตามมาตรา 54

หมวด 5
การขุดหาแร่รายย่อยและการร่อนแร่
_______________________________________________

      มาตรา 89 ห้ามมิให้ผู้ใดขุดหาแร่รายย่อยหรือร่อนแร่ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตขุดหาแร่รายย่อย หรือใบอนุญาตร่อนแร่

      มาตรา 90 ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตขุดหาแร่รายย่อยหรือใบอนุญาตร่อนแร่ ให้ยื่นคำขอต่อนายอำเภอท้องที่ แล้วให้นายอำเภอท้องที่ส่ง
เรื่องไปให้ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายพิจารณาออกใบอนุญาต
      ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายเป็นผู้ออกใบอนุญาตขุดหาแร่รายย่อยหรือใบอนุญาตร่อนแร่ และจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ในใบอนุญาตก็ได้
      ใบอนุญาตขุดหาแร่รายย่อย หรือใบอนุญาตร่อนแร่ ให้มีอายุเพียงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ออก

      มาตรา 91 หลักเกณฑ์และวิธีการในการออกใบอนุญาตขุดหาแร่รายย่อย หรือใบอนุญาตร่อนแร่ การพักใช้ใบอนุญาตและ การเพิกถอนใบอนุญาต
ดังกล่าว ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง

หมวด 5 ทวิ*
การขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดิน
_______________________________________________

      มาตรา 91 ทวิ* ห้ามมิให้ผู้ใดขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินลึกกว่าระดับที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาต
ขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดิน
      เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยส่วนตัวของประชาชนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดระดับความลึกของการขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินให้ลึก
กว่าระดับที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งได้ โดยต้องระบุเขตท้องที่และระดับความลึกให้ชัดเจนและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
      ภายใต้บังคับมาตรา 91 ตรี ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย และให้ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายเป็นผู้ออกใบอนุญาตขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดิน ในการอนุญาต ผู้ออกใบอนุญาตจะกำหนดเงื่อนไขใ ด ๆ ในใบอนุญาตก็ได้ และให้ใบอนุญาตดังกล่าวมีอายุไม่เกินสามปีนับแต่วันที่ออก

      มาตรา 91 ตรี* เพื่อประโยชน์ในการป้องกันมิให้มีการทรุดตัวของดินและในการป้องกันมิให้มีผลกระทบทางสภาวะสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการขุดเจาะ
น้ำเกลือใต้ดิน ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดท้องที่ใดท้องที่หนึ่งเป็นเขตควบคุมการขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดิน พร้อมทั้งกำหนดระดับความลึกขั้นต่ำที่จะมีการอนุญาต
ให้ขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดิน ในเขตควบคุมดังกล่าวนอกเหนือไปจากระดับความลึกตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 ทวิ ได้
      การกำหนด การยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงเขตควบคุมการขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดิน และการกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงระดับความลึกขั้นต่ำที่ประกาศกำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
      ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินในเขตควบคุมการขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นคำขอต่ออธิบดีหรือผู้ที่อธิบดี
มอบหมาย และให้อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายเป็นผู้ออกใบอนุญาตขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินในเขตควบคุมดังกล่าว ในการอนุญาต ผู้ออกใบอนุญาตจะกำหนด
เงื่อนไขใด ๆ ในใบอนุญาตก็ได้ และให้ใบอน ุญาตดังกล่าวมีอายุไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ออก

      มาตรา 91 จัตวา* ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในเขตที่ได้รับอนุญาตให้ขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินได้ทุกเวลาเพื่อตรวจสอบการดำเนินการ
ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาต และให้ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ครอบครองเขตที่ได้รับอนุญาตให้ขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินนั้นอำนวยความสะดวก
ตามควรแก่กรณี ในการนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือแก่ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ครอบครองให้จัดการป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นได้

      มาตรา 91 เบญจ* ในกรณีที่ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่เห็นว่า การดำเนินการของผู้รับใบอนุญาต อาจเป็นอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือ
ทรัพย์สิน ให้ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือแก่ผู้รับใบอนุญาตให้เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือหยุดการกระทำนั้นได้ตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกัน
หรือระงับอันตรายนั้น

      มาตรา 91 ฉ* ให้นำบทบัญญัติในหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2คณะกรรมการมาใช้บังคับกับการขุดเจาะน้ำเก ลือใต้ดินตามหมวดนี้ โดยให้ถือ
เสมือนหนึ่งว่าใบอนุญาตขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินเป็นประทานบัตร
      มิให้นำบทบัญญัติในหมวด 3 ถึงหมวด 11 มาใช้บังคับกับการขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดิน น้ำเกลือใต้ดินและเกลือที่ได้มาจากน้ำเกลือใต้ดินตามหมวดนี้

      มาตรา 91 สัตต* คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ จำนวนเนื้อที่ของแต่ละคำขอ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตขุดเจาะน้ำเกลือ
ใต้ดิน การออกใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต และการเพิกถอนใบอนุญาตขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดิน ให้เป็นไปตามที่
กำหนดในกฎกระทรวง

      มาตรา 91 อัฎฐ* ผู้รับใบอนุญาตขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินต้องชำระค่าภาคหลวงแร่ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ก่อนที่จะขนน้ำเกลือ
ใต้ดินหรือเกลือที่ได้มาจากน้ำเกลือใต้ดินออกจากเขตที่ได้รับอนุญาตให้ขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต เว้นแต่จะเป็นการขนไปยังสถานที่
ที่ได้รับอนุญาตตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือสถานที่ที่ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ได้อนุญาตในภายหลังแต่ต้องวางเงินประกันหรือจัดให้ธนาคารเป็น
ผู้ค้ำประกันการชำระค่าภาคหลวงไว้ต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายกำหนด
      ในกรณีที่มีการซื้อขาย น้ำเกลือใต้ดินหรือเกลือที่ได้มาจากน้ำเกลือใต้ดินที่ตกเป็นของแผ่นดินแต่ยังมิได้ชำระค่าภาคหลวงแร่ผู้ซื้อต้องชำระค่าภาคหลวงแร่สำหรับน้ำเกลือใต้ดินหรือ เกลือที่ได้มาจากน้ำเกลือใต้ดินดังกล่าวในขณะที่ซื้อ
      *[หมวด 5 ทวิ มาตรา 91 ทวิ ถึงมาตรา 91 อัฏฐ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534]

หมวด 6
การซื้อแร่ การขายแร่ และการเก็บแร่
___________________________________________

      มาตรา 92* ห้ามมิให้ผู้ใดซื้อแร่เพื่อประกอบธุรกิจ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตซื้อแร่จากทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่
      (1) การซื้อแร่จากผู้รับใบอนุญาตขุดหาแร่รายย่อย
      (2) การซื้อโลหะที่ได้จากโลหกรรม
      (3) การซื้อแร่ตามชนิดและสภาพของแร่ที่แต่งจนสามารถนำไปผสมกับวัตถุอื่ น หรือนำไปประกอบกิจการสำเร็จรูปได้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
      *[มาตรา 92 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 93 ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตซื้อแร่ ให้ยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ที่ผู้ขอจะตั้งสถานที่ซื้อแร่
      ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่เป็นผู้ออกใบอนุญาตซื้อแร่ ในการนี้ให้กำหนดสถานที่ซื้อแร่ และจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ในใบอนุญาตซื้อแร่ก็ได้
      ใบอนุญาตซื้อแร่ให้มีอายุเพียงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ออก

      มาตรา 94 ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่ในที่อื่นนอกสถานที่ที่ระบุในใบอนุญาตซื้อแร่ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตซื้อแร่นอกสถานที่จากทรัพยากรธรณีประจำท้องที่
      ถ้าผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่นอกสถานที่ผู้ใดประสงค์จะให้ผู้อื่นรับซื้อแร่นอกสถานที่ให้แก่ตน จะต้องระบุชื่อผู้รับซื้อแร่นั้นเพื่อขอรับใบอนุญาตซื้อแร่นอกสถานที่ด้วย
      การขอและการออกใบอนุญาตซื้อแร่นอกสถานที่ ให้นำมาตรา 93 มาใช้บังคับโ ดยอนุโลม
      ใบอนุญาตซื้อแร่นอกสถานที่ให้สิ้นอายุพร้อมกับใบอนุญาตซื้อแร่

      มาตรา 95 ผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่ ต้องแสดงใบอนุญาตนั้นไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ที่ระบุในใบอนุญาตซื้อแร่ และในกรณีที่ได้รับใบอนุญาตซื้อแร่
นอกสถานที่ต้องแสดงรายชื่อผู้ที่ระบุให้รับซื้อแร่นอกสถานที่ให้แก่ตนถ้ามีไว้ในที่ที่แสดงใบอนุญาตซื้อแร่ด้วย
      ผู้ซื้อแร่นอกสถานที่ที่ระบุในใบอนุญาตซื้อแร่ต้องมี ใบอนุญาตซื้อแร่นอกสถานที่ติดตัวไปด้วยในขณะที่ซื้อแร่

      มาตรา 96 ใบอนุญาตซื้อแร่จะโอนกันมิได้

      มาตรา 97 ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่ตาย ถ้าทายาทหรือผู้จัดการมรดกประสงค์จะซื้อแร่ต่อไปตามใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอซื้อแร่ตามใบอนุญาตของ
ผู้ตายภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันผู้รับใบอนุญาตตาย พร้อมกับแสดงสิทธิในการรับมรดกหรือจัดการมรดกนั้น ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่มีอำนาจสั่ง
อนุญาตให้ผู้ยื่นคำขอซื้อแร่ต่อไปตามใบอนุญาตนั้นได้
      ในกรณีที่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกได้ยื่นคำขอซื้อแร่ตามใบอนุญาตของ
ผู้ตายภายในกำหนดดังกล่าวในวรรคหนึ่งก็ให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกนั้นซื้อแร่ต่อไปได้จนกว่าทรัพยากรธรณีประจำท้องที่สั่งไม่อนุญาต ถ้าไม่มีทายาทหรือ
ผู้จัดการมรดกยื่นคำขอซื้อแร่ตามใบอนุญาตของผู้ตายภายในกำหนดดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ใบอนุญาตซื้อแร่นั้นเป็นอันสิ้นอายุ นับแต่วันครบกำหนดสามสิบวัน
จากวันที่ผู้รับใบอนุญาตตาย
      ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ให้นำความในสองวรรคก่อนมาใช้บังคับแก่ผู้อนุบาลโดยอนุโลม
      ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย ใบอนุญาตซื้อแร่นั้นเป็นอันสิ้นอายุ
      ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่เป็นนิติบุคคล และสภาพนิติบุคคลสิ้นสุดลงใบอนุญาตซื้อแร่นั้นเป็นอันสิ้นอายุ

      มาตรา 98 ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่ หรือผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่นอกสถานที่ซื้อแร่ เว้นแต่ผู้ขายแร่จะได้
      (1)* มอบเอกสารตามแบบพิมพ์ของกรมทรัพยากรธรณีให้เพื่อแสดงว่าแร่ที่ขายนั้นเป็นแร่ที่ได้มาโดยประทานบัตรชั่วคราว หรือประทานบัตรเลขที่
เท่าใด และมีลายมือชื ่อของผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว หรือของผู้ถือประทานบัตรนั้น หรือของตัวแทนซึ่งได้จดทะเบียนไว้ต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ในเอกสาร
นั้น
      *[มาตรา 89 (1) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]
      (2) มอบเอกสารตามแบบพิมพ์ของกรมทรัพยากรธรณีให้เพื่อแสดงว่าแร่ที่ขายนั้นเป็นแร่ของผู้ขายแร่ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่ที่ได้มาโดยใบอนุญาต
เลขที่เท่าใด และมีลายมือชื่อของผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่ หรือของตัวแทน ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ในเอกสารนั้น
      (3) มอบเอกสารแสดงว่าเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีในกรณีพิเศษเฉพาะครั้งที่ขายนั้น หรือ
      (4) แสดงใบอนุญาตร่อนแร่ และแสดงได้ว่าแร่ที่ขายนั้นเป็นแร่ที่ได้มาโดยไม่เกินปริมาณตามใบอนุญาตนั้น
      เอกสารที่ผู้ขายแร่มอบให้ตาม (1) (2) หรือ (3) นั้น ผู้รับใบอนุญาต
ซื้อแร่ต้องเก็บไว้เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ตลอดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันซื้อแร่
      เอกสารที่ผู้ขาย แร่แสดงตาม (4) ให้ผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่บันทึกการซื้อแร่นั้นลงไว้ในรายการขายแร่ในใบอนุญาตร่อนแร่ แล้วคืนใบอนุญาตนั้นให้ผู้รับใบอนุญาตร่อนแร่ไปทันที

      มาตรา 99 ห้ามมิให้ผู้ใดขายแร่ เว้นแต่ผู้นั้นเป็น
      (1)* ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว หรือผู้ถือประทานบัตร หรือตัวแทนของบุคคลดังกล่าว ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ ขายแร่ที่ได้มา
จากการทำเหมืองตามประทานบัตรชั่วคราว หรือประทานบัตรนั้น
      (2)* ผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่ หรือตัวแทนซึ่งได้จดทะเบียนไว้ต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่
      (3) ผู้รับใบอนุญาตขุดหาแร่รายย่อย หรือเป็นเจ้าของแร่ซึ่งแร่นั้นได้มาจากผู้รับใบอนุญาตขุดหาแร่รายย่อย
      (4) ผู้รับใบอนุญาตร่อนแร่
      (5) ผู้รับอนุญาตจากอธิบดีในกรณีพิเศษเฉพาะครั้งที่ขายนั้น หรือ
      (6) ผู้ขายโลหะที่ได้จากโลหกรรม
      *[มาตรา 99 (1) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2516]

      มาตรา 100 ห้ามมิให้ผู้มีสิ ทธิขายแร่ตามมาตรา 99 ขายแร่แก่บุคคลใด นอกจากผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่หรือผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่นอกสถานที่
เว้นแต่เป็นแร่ที่ได้มาจากการขุดแร่รายย่อยหรือเป็นโลหะที่ได้จากโลหกรรมหรือเป็นแร่ที่ส่งขายนอกราชอาณาจักรโดยตรง

      มาตรา 101 ห้ามมิให้ผู้ใดเก็บแร่ในทางธุรกิจ ณ ที่ใด ๆ เว้นแต่จะเก็บในสถานที่ซึ่งผู้เก็บได้รับอนุญาตตั้งสถานที่เก็บแร่จากทรัพยากรธรณีประจำ
ท้องที่ หรือเป็นแร่ที่มีไว้ในครอบครองได้ตามมาตรา 105

      มาตรา 102 ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตตั้งสถานที่เก็บแร่ ให้ยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่
      ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่เป็นผู้ออกใบอนุญาตตั้งสถานที่เก็บแร่ และจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ในใบอนุญาตก็ได้
      ใบอนุญาตตั้งสถานที่เก็บแร่ให้มีอายุเพียงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ออก

      มาตรา 103 อธิบดีมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตที่ออกให้ตามความในหมวดนี้เมื่อปรากฏว่าได้มีการฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขใน
ใบอนุญาต หรือมีเหตุอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกของประชาชน
      คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้แจ้งไปยังผู้รับใบอนุ ญาต และให้ถือว่าใบอนุญาตนั้นเป็นอันสิ้นอายุนับแต่วันรับแจ้งคำสั่งนั้น
      ผู้รับใบอนุญาตที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอน
ต่อรัฐมนตรี โดยยื่นต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันรับแจ้งคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
      ผู้ใดถูกเพิกถอนใบอนุญาตแล้ว จะขอรับใบอนุญาตอีกไม่ได้ จนกว่าจะพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันถูกเพิกถอนใบอนุญาต

      มาตรา 103 ทวิ* เมื่อรัฐมนตรีพิจารณาเห็นสมควรจะประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้แร่ชนิดใดในปริมาณเท่าใดเป็นแร่ที่จะให้ผู้ซื้อ ผู้ขาย
หรือผู้เก็บได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้ได้ แต่ต้องเป็นแร่ที่ได้ชำระค่าภาคหลวงแร่ครบถ้วนตามมาตรา 104 แล้ว
      *[มาตรา 103 ทวิ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

      มาตรา 103 ตรี* เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจในอันที่จะส่งเสริมการทำเหมืองและควบคุมการเก็บรักษาแร่ที่ผู้ทำเหมืองผลิตได้เกินปริมาณที่
ทางราชการอนุญาตให้ส่งออกนอกราชอาณาจักรในขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อผู้รับใบอนุญาตตั้งสถานที่เก็บแร่ ผู้รับใบอนุญาตแต่งแร่ หรือผู้รับใบอนุญาตประกอบ
โลหกรรม ยื่นคำร้องเป็นหนังสือขอให้กำหนดสถานที่เก็บแร่ เขตแต่งแร่ หรือเขตโลหกรรมตามใบอนุญาตของตนเป็นสถานที่ฝากแร่ รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนด
ให้สถานที่หรือเขตของผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวเป็นสถานที่ฝากแร่ได้ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความจำเป็นและปริมาณแร่ในแต่ละท้องที่ สภาพของสถานที่และ
ความเหมาะสม และจะกำหนดให้มีพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำสถานที่ฝากแร่หรือกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ผู้รับใบอนุญาตตั้งสถานที่เก็บแร่ ผู้รับใบอนุญาต
แต่งแร่ หรือผู้รับใบอนุญาตประกอบโลหกรรม ซึ่งสถานที่เก็บแร่ เขตแต่งแร่หรือเขตโลหกรรมของตน แล้วแต่กรณี เป็นสถานที่ฝากแร่ปฏิบัติด้วยก็ได้
      ในการกำหนดสถานที่ฝากแร่ตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดได้ครั้งละไม่เกินหนึ่งปีผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว
      ผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่
ที่ซื้อแร่จากผู้รับใบอนุญาตร่อนแร่ อาจนำแร่ที่ได้จากการทำเหมืองหรือแร่ที่มีไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่ทางราชการอนุญาตให้ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ในขณะใดข ณะหนึ่ง ไปฝากไว้ ณ สถานที่ฝากแร่ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
      *[มาตรา 103 ตรี เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯพ.ศ. 2526]

หมวด 7
การชำระค่าภาคหลวงแร่ การมีแร่ไว้ในครอบครอง และการขนแร่
_________________________________________________________

      มาตรา 104* ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร ผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่ ผู้ครอบครองแร่อื่นที่ได้จากการแต่งแร่ หรือผู้ประกอบ
โลหกรรมต้องชำระค่าภาคหลวงแร่ ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ ดังต่อไปนี้
      (1) ต้องชำระค่าภาคหลวงแร่สำหรับแร่ที่กำหนดไว้ในประทานบัตร รวมทั้งแร่อื่นที่เป็นผลพลอยได้จากการทำเหมือง ให้ครบถ้วนตามปริมาณแร่ก่อน
ที่จะขนแร่ออกจากเขตเหมืองแร่
      (2) ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่ได้ซื้อแร่จากผู้รับใบอนุญาตร่อนแร่ ต้องชำระค่าภาคหลวงแร่สำหรับแร่ที่ซื้อในเดือนที่แล้วมาภายในวันที่ห้าของ
เดือนถัดจากเดือนที่ซื้อ
      (3) ในกร ณีที่ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่ ที่ซื้อแร่จากผู้รับใบอนุญาตร่อนแร่ ขนแร่ไปยังเขตแต่งแร่ หรือ
เขตโลหกรรมของตนเองหรือเขตแต่งแร่ หรือเขตโลหกรรมของบุคคลอื่น ซึ่งอธิบดีให้ความเห็นชอบแล้ว บุคคลดังกล่าวจะขอผัดการชำระค่าภาคหลวงแร่
ไว้ก่อนจนกว่าจะแต่งแร่ หรือประกอบโลหกรรมนั้นแล้วเสร็จก็ได้ แต่ต้องวางเงินประกันหรือจัดให้ธนาคารซึ่งอธิบดีเห็นชอบเป็นผู้ค้ำประกันการชำระค่า
ภาคหลวงแร่ไว้ต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ตามที่ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่กำหนด
      (4) ในกรณีที่นำแร่มาแต่งและได้แร่อย่างอื่นด้วย ต้องชำระค่าภาคหลวงแร่ สำหรับแร่ที่แต่งได้พร้อมกับการขออนุญาตมีแร่ไว้ในครอบครอง
ตามมาตรา 105
      (5) ในกรณีที่ตะกรันมีแร่ชนิดอื่นที่ยังมิได้ชำระค่าภาคหลวงแร่มาก่อนเจือปนอยู่เกินปริมาณที่อธิบดีกำหนด ผู้ประกอบโลหกรรมต้องชำระค่าภาคหลวงแร่
สำหรับแร่ที่เจือปนตามปริมาณที่คำนวณได้ให้ครบถ้วนก่อนที่จะขนตะกรันนั้นออกจากเขตโลหกรรมในกรณีที่มีการซื้อขายแร่ที่ตกเป็นของแผ่นดิน หากปรากฏว่าแร่นั้นเป็นแร่
ที่ยังมิได้ชำระค่าภาคหลวงแร่ ผู้ซื้อต้องชำระค่าภาคหลวงแร่ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่สำหรับแร่ดังกล่าวพร้อมกับการขออนุญาตมีแร่ไว้ใน
ครอบครองตามมาตรา 105
      *[มาตรา 104 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

      มาตรา 104 ทวิ* ผู้ที่นำแร่ไปฝากไว้ ณ สถานที่ฝากแร่ตามมาตรา 103 ตรี จะขอผัดการชำระค่าภาคหลวงแร่ไว้ก่อนก็ได้ ทั้งนี้ตามระยะเวลา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
      *[มาตรา 104 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯพ.ศ. 2526]

      มาตรา 105* ห้ามมิให้ผู้ใดมีแร่ไว้ในครอบครองแต่ละชนิดเกินสองกิโลกรัม เว้นแต่
      (1) เป็นแร่ที่ได้รับใบอนุญาตมีแร่ไว้ในครอบครอง หรือเป็นแร่ที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 103 ทวิ
      (2) เป็นแร่ที่ได้มาจากการสำรวจแร่เพื่อนำไปวิเคราะห์หรือวิจัยไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ในอาชญาบัตร
      (3) เป็นแร่ที่ได้มาจากการทำเหมืองในเขตเหมืองแร่ที่เก็บแร่นั้นไว้
      (4) เป็นแร่ที่ได้รับ ใบอนุญาตขนแร่ให้ขนมาเก็บในสถานที่เก็บแร่ตามใบอนุญาตตั้งสถานที่เก็บแร่
      (5) เป็นแร่ที่อยู่ในระหว่างขนแร่ตามใบอนุญาตขนแร่ หรือเป็นแร่ที่อยู่ในสถานที่พักแร่ตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตขนแร่
      (6) เป็นแร่ในสถานที่ซื้อแร่ ซึ่งแร่นั้นได้มาตามเอกสารที่กำหนดไว้ในมาตรา 98
      (7) เป็นแร่ที่ได้รับใบอนุญาตขนแร่ให้ขนมาแต่งแร่หรือประกอบโลหกรรมในเขตแต่งแร่หรือเขตโลหกรรมนั้น
      (8) เป็นแร่ที่ได้มาตามใบอนุญาตขุดหาแร่รายย่อย หรือใบอนุญาตร่อนแร่หรือได้มาตาม (3) วรรคสอง ของมาตรา 92
      (9) เป็นแร่ที่มีไว้ในครอบครองเพื่อการศึกษาหรือวิจัยของสถาบันวิจัยเอกชนที่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี ส่วนราชการ องค์การของรัฐ หรือ
สถาบันการศึกษา
      (10) เป็นแร่ที่อธิบดีอนุญาตเป็นหนังสือให้มีไว้ในครอบครองเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย หรือ
      (11) เป็นแร่ในสภาพวัตถุสำเร็จรูปที่เป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับ ปฏิมากร หรือผลผลิตจากกรรมวิธีของโลหกรรมหรืออุตสาหกรรม
      (12)*เป็นแร่ที่ได้รับใบอนุญาตขนแร่ให้ขนไปฝากไว้ ณ สถานที่ฝากแร่ตามมาตรา 103 ตรี
      *[มาตรา 105 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 และความใน (12) เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ พ.ศ. 2526]

      มาตรา 106 ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตมีแร่ไว้ในครอบครองให้ยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่
      ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่เป็นผู้ออกใบอนุญาตมีแร่ไว้ในครอบครอง
ในการนี้ให้กำหนดสถานที่ที่จะมีแร่นั้นไว้ในครอบครอง และจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ในใบอนุญาตนั้นก็ได้
      ผู้รับใบอนุญาตมีแร่ไว้ในครอบครองจะมีแร่ไว้ในครอบครองได้แต่เฉพาะในสถานที่ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตมีแร่ไว้ในครอบครองนั้นเท่านั้น ในกรณีนี้
ผู้รับใบอนุญาตมีแร่ไว้ในครอบครองไม่ต้องรับใบอนุญาตตั้งสถานที่เก็บแร่แต่ต้องได้รับใบอนุญาตขนแร่เมื่อจะขนแร่ออกจากสถานที่นั้น
      ใบอนุญาตมีแร่ไว้ในครอบครองให้มีอายุเพียงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ออก

      มาตรา 107 ในกรณีที่ผู้รับใบอนุ ญาตมีแร่ไว้ในครอบครองตาย ให้ถือว่าผู้มีแร่นั้นไว้ในครอบครองเป็นผู้รับใบอนุญาตมีแร่ไว้ในครอบครอง
ตามใบอนุญาตนั้นต่อไปจนกว่าใบอนุญาตสิ้นอายุ

      มาตรา 108* ห้ามมิให้ผู้ใดขนแร่ในที่ใด เว้นแต่
      (1) เป็นแร่ที่ได้รับใบอนุญาตขนแร่ หรือเป็นแร่ที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 103 ทวิ
      (2) เป็นแร่ที่ได้รับมาจากการสำรวจแร่เพื่อนำไปวิเคราะห์หรือวิจัยไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ในอาชญาบัตร
      (3) เป็นการขนแร่ในเขตเหมืองแร่ เขตแต่งแร่ เขตโลหกรรม ภายในสถานที่ซื้อแร่ตามใบอนุญาตซื้อแร่ สถานที่เก็บแร่หรือสถานที่พักแร่
      (4) ในกรณีขนแร่ของผู้รับใบอนุญาตขุดหาแร่รายย่อย หรือผู้รับใบอนุญาตร่อนแร่ หรือผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่นอกสถานที่
      (5) เป็นแร่ของเจ้าของแร่ ซึ่งแร่นั้นได้มาตาม (1) หรือ (3) วรรคสอง ของมาตรา 92
      (6) เป็นแร่ที่ขนแต่ละชนิดไม่เกินสองกิโลกรัม
      (7) เป็นแร่เพื่อการศึกษาหรือวิจัยของสถานวิจัยของเอกชนที่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี ส่วนราชการ องค์การของรัฐ หรือสถาบันการ
ศึกษา
      (8) เป็นแร่ในสภาพวัตถุสำเร็จ รูปที่เป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับ ปฏิมากร หรือผลผลิตจากกรรมวิธีของอุตสาหกรรม
      (9) เป็นแร่ที่อธิบดีอนุญาตเป็นหนังสือให้ขนเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย หรือ
      (10) เป็นโลหะที่ได้มาจากโลหกรรม นอกจากเป็นการขนออกจากเขตโลหกรรม
      *[มาตรา 108 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 109* ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตขนแร่ ให้ยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และต้องแสดงหลักฐานว่าแร่ที่ขอรับใบอนุญาต
ขนแร่นั้นได้ชำระค่าภาคหลวงแร่ หรือได้รับอนุญาตให้ผัดการชำระค่าภาคหลวงแร่นั้นไว้ก่อนแล้ว
      ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่เป็นผู้ออกใบอนุญาตขนแร่และจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ในใบอนุญาตนั้นก็ได้
      *[มาตรา 109 วรรคหนึ่ง แก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯพ.ศ. 2526]

      มาตรา 110* ผู้รับใบอนุญาตขนแร่จะขนแร่จากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งตามที่กำหนดในใบอนุญาตได้แต่ละคราวตามปริมาณที่กำหนดไว้ใน
ใบอนุญาต
      การขนแร่เกินใบอนุญา ตสำหรับแร่ชนิดใดจะกระทำได้เพียงใดและมีปริมาณเท่าใดให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
      การขนแร่เกินใบอนุญาตตามวรรคสอง ให้ถือว่าแร่นั้นเป็นแร่ที่ขนตามที่ได้รับอนุญาตให้ขนแร่ แต่ผู้รับใบอนุญาตขนแร่ต้องชำระค่าภาคหลวงแร่
สำหรับแร่ในปริมาณที่เกินนั้น
      การขนแร่เกินใบอนุญาตที่มิได้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้ถือว่าแร่ที่ขนทั้งสิ้นนั้นเป็นแร่ที่ขนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
      *[มาตรา 110 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

      มาตรา 111 ภายใต้บังคับมาตรา 112 ผู้รับใบอนุญาตขนแร่จะขนแร่ได้เฉพาะตามชนิดและสภาพที่ระบุในใบอนุญาต ถ้ามีแร่ชนิดอื่นเจือปน
กับแร่ที่ขนอันมิใช่เป็นแร่ที่เจือปนอยู่ตามธรรมชาติ ให้ถือว่าแร่ที่ขนทั้งสิ้นนั้นเป็นแร่ที่ขนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต

      มาตรา 112 ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตขนแร่ขนแร่ที่มีแร่ชนิดอื่นเจือปนอยู่ตามธรรมชาติถ้าแร่ที่เจือปนนั้นเป็นแร่ที่ได้กำหนดชนิดและปริมาณการเจือปนไว้
ในกฎกระทรวง เว้นแต่ในใบอนุญาตจะไ ด้ระบุชนิดของแร่ที่เจือปนนั้นไว้ และผู้รับใบอนุญาตขนแร่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงด้วย
      ในกรณีขนแร่ที่มีแร่ชนิดอื่นเจือปนอยู่โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าแร่ที่ขนทั้งสิ้นนั้นเป็นแร่ที่ขนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต

      มาตรา 113 ในกรณีที่ผู้ถือประทานบัตรคนเดียวมีประทานบัตรหลายฉบับที่มีเขตติดต่อกัน หรือในกรณีที่ผู้ถือประทานบัตรหลายคนโดยเขต
เหมืองแร่เหล่านั้นติดต่อกัน และได้รับอนุญาตจากทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ให้ร่วมโครงการทำเหมืองเดียวกันแล้ว เพื่อประโยชน์ตามความในหมวดนี้
ให้ถือว่าเขตเหมืองแร่เหล่านั้นเป็นเขตเดียวกัน

      มาตรา 113 ทวิ* ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดพื้นที่หรือสถานที่แห่งใดอันมีเขตกำหนดเป็นด่านตรวจแร่ได้
      *[มาตรา 113 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2522]

หมวด 8
การแต่งแร่
________________________________

      มาตรา 114* ห้ามมิให้ผู้ใดแต่งแร่ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ หรือเป็นผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว หรือผู้ถือ
ประทานบัตรซึ่งแต่งแร่ภายในเขตเหมืองแร่ให้นำมาตรา 113 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
      *[มาตรา 114 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 115* ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตแต่งแร่ ให้ยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่
      ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่เป็นผู้ออกใบอนุญาตแต่งแร่และจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ในใบอนุญาตก็ได้
      ใบอนุญาตแต่งแร่ให้มีอายุตามที่กำหนดในใบอนุญาตแต่ไม่เกินสามปีนับแต่วันออก และจะต่ออายุก็ได้ครั้งละไม่เกินสามปีนับแต่วันต่อ
      ผู้รับใบอนุญาตแต่งแร่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตแต่งแร่นั้น
      *[มาตรา 115 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 116 ในการแต่งแร่ ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตแต่งแร่กระทำหรือละเว้นกระทำการใด อันน่าจะเป็นเหตุให้แร่ที่มีพิษหรือสิ่งอื่นที่มีพิษก่อให้
เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือทรัพย์สิน

      มาตรา 117 พนักง านเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในเขตแต่งแร่เพื่อตรวจการแต่งแร่ได้ทุกเวลา ให้ผู้ครอบครองเขตแต่งแร่นั้นอำนวยความสะดวก
ตามควรแก่กรณี และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือแก่ผู้รับใบอนุญาตแต่งแร่ให้จัดการป้องกันอันตรายอันอาจเกิดจากการแต่งแร่ได้

      มาตรา 118 ในกรณีที่ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่เห็นว่าการแต่งแร่จะเป็นอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือทรัพย์สิน ให้มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือแก่
ผู้รับใบอนุญาตแต่งแร่ให้เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขวิธีการแต่งแร่ตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายนั้นได้ และมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือหรือให้หยุดการแต่งแร่เสีย
ทั้งสิ้น หรือส่วนหนึ่งส่วนใดได้ตามที่เห็นสมควร

      มาตรา 119 อธิบดีมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตแต่งแร่ เมื่อปรากฏว่าได้มีการฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขในใบอนุญาต หรือมีเหตุอัน
กระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกของประชาชน
      คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้แจ้งไปยังผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าใบอนุญาตนั้นเป็นอันสิ้นอา ยุนับแต่วันรับแจ้งคำสั่งนั้น
      ผู้รับใบอนุญาตที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนต่อรัฐมนตรี โดยยื่นต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันรับแจ้ง
คำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
      ผู้ใดถูกถอนใบอนุญาตแล้ว จะขอรับใบอนุญาตอีกไม่ได้ จนกว่าจะพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันถูกเพิกถอนใบอนุญาต

หมวด 9
การประกอบโลหกรรม
____________________________________

      มาตรา 120 การประกอบโลหกรรมแร่ชนิดใดปริมาณการผลิตขนาดใดและโดยกรรมวิธีใด จะให้อยู่ในความควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กำหนด
โดยกฎกระทรวง

      มาตรา 121 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบโลหกรรมที่อยู่ในความควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตประกอบโลหกรรม
      ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ประกอบโลหกรรมที่กำหนดยกเว้นโดยกฎกระทรวง

      มาตรา 122 ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตประกอบโลหกรรม ให้ยื่นคำขอต่อทรัพ ยากรธรณีประจำท้องทที่
      อธิบดีเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบโลหกรรม และจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ในใบอนุญาตก็ได้
      ใบอนุญาตประกอบโลหกรรมให้มีอายุตามที่กำหนดในใบอนุญาต แต่ไม่เกินยี่สิบห้าปีนับแต่วันออก และจะต่ออายุก็ได้แต่ต้องกำหนดเวลาไม่เกิน
ยี่สิบห้าปีนับแต่วันต่อ

      มาตรา 123 ในการประกอบโลหกรรม ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบโลหกรรมกระทำหรือละเว้นกระทำการใดอันน่าจะเป็นเหตุให้แร่ที่มีพิษ
หรือสิ่งอื่นที่มีพิษก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือทรัพย์สิน

      มาตรา 124 พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในเขตโลหกรรมเพื่อตรวจการประกอบโลหกรรมได้ทุกเวลา ให้ผู้ครอบครองเขตโลหกรรมนั้นอำนวย
ความสะดวกตามควรแก่กรณี และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือแก่ผู้รับใบอนุญาตประกอบโลหกรรมให้จัดการป้องกันอันตราย อันอาจเกิดจากการ
ประกอบโลหกรรมได้

      มาตรา 125 ในกรณีที่ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่เห็นว่าการประกอบโลหกรรมจะเป็นอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือทรัพย์สิน ให้มีอำนาจสั่งเป็น
หนังสือแก่ผู้รับใบอนุญาตประกอบโลหกรรมให้เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขวิธีการประกอบโลหกรรมตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายนั้นได้ และมีอำนาจ
สั่งเป็นหนังสือให้หยุดการประกอบโลหกรรมเสียทั้งสิ้นหรือส่วนหนึ่งส่วนใดได้ตามที่เห็นสมควร

      มาตรา 126 อธิบดีมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบโลหกรรมเมื่อปรากฏว่าได้มีการฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขในใบอนุญาต
หรือมีเหตุอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกของประชาชน
      คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้แจ้งไปยังผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าใบอนุญาตนั้นเป็นอันสิ้นอายุนับแต่วันรับแจ้งคำสั่งนั้น
      ผู้รับใบอนุญาตที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนต่อรัฐมนตรี โดยยื่นต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันรับแจ้งคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
      ในกรณีที่ได้มีการอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต่อรัฐมนตรี ผู้อุทธรณ์อาจร้องขออนุญาตต่อรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการประกอบโลหกรรมตามใบอนุญาตนั้นไปพลางก่อนในระหว่างรอคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีได้ คำสั่งอนุ ญาตให้ดำเนินการ
ประกอบโลหกรรมไปพลางก่อนนั้น รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้

หมวด 10
การคืนค่าภาคหลวงแร่
________________________________________

มาตรา 127* แร่ที่ได้ชำระค่าภาคหลวงแล้ว เมื่อผู้ใช้แร่นั้นพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจรัฐมนตรีได้ว่า แร่นั้นได้นำไปใช้ภายในประเทศเพื่ออุตสาหกรรม
อันมิใช่อุตสาหกรรมตามประเภทที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาว่าไม่อาจขอคืนค่าภาคหลวงแร่ได้ หรือแร่นั้นได้นำไปใช้ภายในประเทศ
เพื่อพลังงาน รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้คืนค่าภาคหลวงแร่ให้แก่ผู้ใช้นั้นได้
      การคืนค่าภาคหลวงแร่แต่ละชนิดตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
      ผู้ใดประสงค์จะรับคืนค่าภาคหลวงแร่ ให้ยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ที่ใช้แร่นั้น
      *[มาตรา 127 แก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

หมวด 11
การนำแร่ เข้าหรือการส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักร
____________________________________________

      มาตรา 128 การนำเข้าหรือการส่งออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งแร่ชนิดใดในสภาพอย่างใด ปริมาณเท่าใด จะให้อยู่ในความควบคุมตามพระราช
บัญญัตินี้ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง

      มาตรา 129 ห้ามมิให้ผู้ใดนำเข้าหรือส่งออกนอกราชอาณาจักรซึ่งแร่ที่อยู่ในความควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตนำแร่เข้า
ในราชอาณาจักร หรือใบอนุญาตส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักร

      มาตรา 130 ผู้ใดประสงค์จะนำเข้าหรือส่งออกนอกราชอาณาจักรซึ่งแร่ที่อยู่ในความควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณี
ประจำท้องที่
      อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายเป็นผู้ออกใบอนุญาตนำแร่เข้าในราชอาณาจักรหรือใบอนุญาตส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักร และจะกำหนด
      เงื่อนไขใด ๆ ในใบอนุญาตก็ได้เงื่อนไขตามวรรคสองจะกำหนดให้รวมถึงวิธีการซื้อขายและการใช้แร่ที่จะนำเข้าหรือจะส่งออกนอกราชอาณาจักรด้วยก็ได้

      มาตรา 131 เมื่อมีเหตุอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือเศรษฐกิจของประเทศ รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนำแร่เข ้าในราชอาณาจักร
หรือใบอนุญาตส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักรเมื่อใดก็ได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

หมวด 12
บทกำหนดโทษ
_______________________________

      มาตรา 132 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 7 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

      มาตรา 132 ทวิ* ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของผู้อำนวยการที่ออกตามมาตรา 9 อัฏฐ ต้องระวางโทษดังต่อไปนี้
      (1) ฝ่าฝืนมาตรา 9 อัฏฐ (1) (ก) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
      (2) ฝ่าฝืนมาตรา 9 อัฏฐ (1) (ข) (ค) (ง) หรือ (ช)หรือมาตรา 9 อัฏฐ (2) (ก) หรือมาตรา 9 อัฏฐ (3) (จ) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้ายังมีการฝ่าฝืนต่อไปให้ปรับเป็นรายวันอีกวันละสองพันบาทตลอดระยะเวลาที่ยังมีการฝ่าฝืน
      ในกรณีที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 9 อัฏฐ (1) (ช) ถ้าผู้กระทำความผิดพิสูจน์ได้ว่าการฝ่าฝืนนั้นมีเหตุจำเป็นเพื่อความปลอดภัยในชีวิตหรือ
ทรัพย์สินอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และเหตุนั้นมิได้เกิดจากการกระทำของตนเองหรือตนเองมิได้มีส่วนกระทำให้เกิดขึ้น ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
      (3) ฝ่าฝืนมาตรา 9 อัฏฐ (1) (จ) หรือมาตรา 9 อัฏฐ (2)(ข) หรือมาตรา 9 อัฏฐ (3) (ข) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
      (4) ฝ่าฝืนมาตรา 9 อัฏฐ (1) (ฉ) หรือมาตรา 9 อัฏฐ (2)(ค) หรือมาตรา 9 อัฏฐ (3) (ก) (ค) หรือ (ง) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้ายังมีการฝ่าฝืนต่อไปให้ปรับเป็นรายวันอีกวันละห้าร้อยบาทตลอดระยะเวลาที่ยังมีการฝ่าฝืน       ถ้าผู้ถืออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ ผู้ถืออาชญาบัตรพิเศษ ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร ผู้รับใบอนุญาต หรือผู้ได้รับหนังสืออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ กระทำผิดตามมาตรานี้ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจ
เพิกถอนอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ อาชญาบัตรพิเศษ ประทานบัตรชั่วคราวประทานบัตร ใบอนุญาต หรือหนังสืออนุญาตได้ แล้วแต่กรณี
      *[มาตรา 132 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

      มาตรา 132 ตรี* เจ้าของหรือผู้ครอบครองยานพาหนะใดที่กำลังใช้ในการขนแร่หรือเคลื่อนย้ายแร่ ไม่ติดเครื่องหมายที่ผู้อำนวยการประกาศ
กำหนดตามมาตรา 9 อัฏฐ (3) (จ) ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงห้าพันบาท
      การขนแร่หรือเคลื่อนย้ายแร่โดยยานพาหนะที่ไม่ติดเครื่องหมาย
ตามวรรคหนึ่งและอยู่บนทางสาธารณะ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการขนแร่หรือเคลื่อนย้ายแร่โดยมิชอบด้วยกฎหมายและผู้อำนวยการหรือพนักงาน
เจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการใด ๆ ได้ตามที่พระราชบัญญัตินี้ให้อำนาจไว้ ทั้งนี้เว้นแต่เจ้าของหรือผู้ครอบครองยานพาหนะจะพิสูจน์ได้อย่างชัดแจ้งต่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ทำการตรวจค้นได้ว่า ใบอนุญาต หรือหนังสืออนุญาตของทางราชการเป็นใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตที่แท้จริง โดยปราศจาก
ข้อสงสัย
      ผู้ใดใช้เครื่องหมายที่ผู้อำนวยการประกาศกำหนดตามมาตรา 9 อัฏฐ(3) (จ) โดยมิใช่เป็นผู้ที่ขนแร่หรือเคลื่อนย้ายแร่ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองร้อยบาทถึงสองพันบาท
      *[มาตรา 132 ตรี เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

      มาตรา 132 จัตวา* ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่ผู้อำนวยการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามมาตรา 9 นว (1)
หรือ (2) หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้อำนวยการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 9 นว (2) (3) หรือ (4) ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
      *[มาตรา 132 จัตวา เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

      มาตรา 133 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 11 มาตรา 12 หรือมาตรา 14 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำ
ทั้งปรับ

      มาตรา 133 ทวิ* ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา 17 (3) (3 ตรี) (4) (5) หรือ (6) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
หนึ่งหมื่นบาท
      *[มาตรา 113 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2516 และแก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534]

      มาตรา 133 ตรี* ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 25 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
      *[มาตรา 133 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516

      มาตรา 134* ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 40หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 28 วรรคสี่ หรือมาตรา 33
วรรคหก ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
      *[มาตรา 134 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 135* ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43 หรือมาตรา 91 ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
      ในกรณีที่การฝ่าฝืนมาตรา 43 เกิดขึ้นในเขตควบคุมแร่ หรือการฝ่าฝืนมาตรา 91 ทวิ เกิดขึ้นในเขตควบคุมการขุดเจาะน้ำเกลือ ใต้ดิน ผู้ฝ่าฝืนต้อง
ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงห้าแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
      *[มาตรา 135 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534]

      มาตรา 136* ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามมาตรา 48 มาตรา 70
มาตรา 91 จัตวา มาตรา 117 หรือมาตรา 124 ถ้าการกระทำนั้นไม่ถึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
      *[มาตรา 136 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534]

      มาตรา 137* ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ตามมาตรา 71 หรือมาตรา 91 เบญจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน
หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท และรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนประทานบัตรหรือใบอนุญาตขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินนั้นเสียได้
      *[มาตรา 137 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534]

      มาตรา 138* ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 57 มาตรา 59มาตรา 62 มาตรา 63 มาตรา 64 มาตรา 67 มาตรา 68 มาตรา 69
หรือมาตรา 74 หรือไม่ปฏิบัติตามเ งื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 59 หรือมาตรา 62 มาตรา 63 มาตรา 64 มาตรา 67 มาตรา 68 หรือมาตรา 74
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท และรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนประทานบัตรนั้นเสียได้
      *[มาตรา 138 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 138 ทวิ* ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 60 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนประทานบัตรนั้นเสียได้
      *[มาตรา 138 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 139 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 72 วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท และต้องรับผิด
ชดใช้ค่าใช้จ่ายในการทำที่ดินนั้นให้เป็นตามเดิม

      มาตรา 140 ผู้ถือประทานบัตรผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 76 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนประทานบัตรนั้นเสียได้

      มาตรา 141 ผู้ถือประทานบัตรหรือผู้รับช่วงการทำเหมือง ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำห นดตามมาตรา 77 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

      มาตรา 142 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 89 หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 90 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

      มาตรา 143 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 92 มาตรา 99 หรือมาตรา 101ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

      มาตรา 144 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 93 หรือมาตรา 102 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

      มาตรา 145 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 94 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

      มาตรา 146 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 95 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

      มาตรา 147 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 98 หรือมาตรา 100 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

      มาตรา 147 ทวิ* ผู้รับใบอนุญาตตั้งสถานที่เก็บแร่ ผู้รับใบอนุญาตแต่งแร่ หรือผู้รับใบอนุญาตประกอบโลหกรรมซึ่งสถานที่เก็บแร่ เขตแต่งแร่
หรือเขตโลหกรรมของตน แล้วแต่กรณี เป็นสถานที่ฝากแร่ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 103 ตรี วรรคหนึ่ง ต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
      *[มาตรา 147 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ พ.ศ. 2526]

      มาตรา 148* ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 105 หรือมาตรา 108 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งเท่าถึงห้าเท่าของมูลค่าแร่ตามราคาที่กำหนดโดยกฎหมาย
ว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ที่ใช้บังคับอยู่ในวันกระทำความผิด และรัฐมนตรีมีอำนาจเพิกถอนประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร หรือใบอนุญาตนั้นเสียได้
เมื่อปรากฏว่า
      (1) มีแร่จากที่อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตในเขตเหมืองแร่เขตแต่งแร่ เขตโลหกรรม สถานที่เก็บแร่ หรือสถานที่ซื้อแร่ หรือ
      (2) ขนแร่จากเขตเหมืองแร่ เขตแต่งแร่ เขตโลหกรรม สถานที่เก็บแร่หรือสถานที่ซื้อแร่ ออกไปนอกเขตหรือสถานที่ดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตขนแร่
      *หากการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในเขตควบคุมแร่ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองเท่าถึงหกเท่าของ
มูลค่าแร่ตามราคาที่กำหนดโดยกฎหมายว่าด้วยพิกัดอั ตราค่าภาคหลวงแร่ที่ใช้บังคับอยู่ในวันกระทำความผิด หรือทั้งจำทั้งปรับ และรัฐมนตรีมีอำนาจ
เพิกถอนประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร หรือใบอนุญาตนั้นได้เมื่อมีเหตุตาม (1) หรือ (2)
      *[มาตรา 148 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522และความในวรรคสองเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

      มาตรา 148 ทวิ* ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 106 หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 106 หรือมาตรา 109 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
      *[มาตรา 148 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

      มาตรา 149 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 114 หรือมาตรา 121 หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 115 หรือมาตรา 122 ต้องระวางโทษปรับ
ไม่เกินสองพันบาท

      มาตรา 150 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 116 หรือมาตรา 123 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

      มาตรา 151 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 118 หรือมาตรา 125 ต้ องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

      มาตรา 152* ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 129 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับตั้งแต่ห้าเท่าถึงสิบเท่าของมูลค่าแร่ตามราคาที่กำหนดโดยกฎหมาย
ว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ที่ใช้บังคับอยู่ในวันกระทำความผิด หรือทั้งจำทั้งปรับ
      เมื่อปรากฏว่าแร่ที่ส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น เป็นแร่จากประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร สถานที่ซื้อแร่ สถานที่เก็บแร่ เขตแต่งแร่ หรือเขต
โลหกรรมใด ซึ่งผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาตแล้วแต่กรณี นั้นเป็นผู้กระทำความผิด ผู้สนับสนุน หรือผู้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำ
ความผิด รัฐมนตรีมีอำนาจเพิกถอนประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร หรือใบอนุญาตนั้นเสียได้
      บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการศุลกากร และอำนาจพนักงานศุลกากร
ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เฉพาะอย่างยิ่งที่ว่าด้วยการตรวจ การยึดและการริบของ การจับกุมผู้กระทำความผิด การแสดงเท็จและการฟ้องร้อง ให้นำมา
ใช้บังคับแก่การนำเข้าหรือส่งออกน อกราชอาณาจักรซึ่งแร่ที่อยู่ในความควบคุมตามมาตรา 129 ด้วย
      *[มาตรา 152 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

      มาตรา 152 ทวิ* ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 130ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
      *[มาตรา 152 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2522]

      มาตรา 152 ตรี* ในกรณีที่ปรากฏว่าแร่ขาดหายไปจากบัญชีแสดงการขุดแร่ได้ของผู้ถือประทานบัตรชั่วคราวหรือผู้ถือประทานบัตร หรือบัญชี
แสดงแร่คงเหลือของผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่ ผู้รับใบอนุญาตตั้งสถานที่เก็บแร่ผู้รับใบอนุญาตให้มีแร่ไว้ในครอบครอง ผู้รับใบอนุญาตแต่งแร่ ผู้รับใบอนุญาต
ประกอบโลหกรรม หรือผู้ซึ่งสถานที่เก็บแร่ เขตแต่งแร่ หรือเขตโลหกรรมของตนเป็นสถานที่ฝากแร่ โดยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการขาดหายของแร่นั้น
มิใช่เกิดจากความผิดของตน ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตรผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่ ผู้รับใบอนุญาตตั้งสถานที่เก็บแร่ ผู้รับใบอนุญาตให้มีแร่
ไว้ในครอบครอง ผู้รับใบอนุญาตแต่งแร่ ผู้รับใบอนุญาตประกอบโลหกรรมหรือผู้ซึ่งสถานที่เก็บแร่ เขตแต่งแร่ หรือเขตโลหกรรมของตนเป็นสถานที่
ฝากแร่ แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งเท่าถึงสามเท่าของมูลค่าแร่ที่ขาดหายไปตามราคาที่กำหนดโดยกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่
ที่ใช้บังคับอยู่ในวันกระทำความผิด และรัฐมนตรีมีอำนาจเพิกถอนประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตรใบอนุญาต หรือสถานที่ฝากแร่นั้นเสียได้
      *[มาตรา 152 ตรี เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2522 และแก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ พ.ศ. 2526]

      มาตรา 153* การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
มีอำนาจเปรียบเทียบได้
      *[มาตรา 153 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

      มาตรา 153 ทวิ* ในการกระทำความผิดตามมาตรา 148 วรรคหนึ่งหรือมาตรา 152 ตรี ให้อธิบดีมีอำนาจทำการเปรียบเทียบให้ผู้กระทำความผิด
ชำระค่าปรับได้ไม่น้อยกว่าขั้นต่ำของค่าปรับที่กฎหมายกำหนด และเมื่อผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรั บแล้วให้คดีเป็นอันระงับ
      *[มาตรา 153 ทวิ แก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2528]

      มาตรา 154* บรรดาแร่ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ที่บุคคลได้มาหรือได้ใช้ในการกระทำ
ความผิด หรือมีไว้เนื่องในการกระทำความผิด หรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา 132 ทวิ มาตรา 132 ตรี มาตรา 132
จัตวา มาตรา 133 มาตรา 133 ตรี มาตรา 135 มาตรา 138 มาตรา 142มาตรา 143 มาตรา 145 มาตรา 147 มาตรา 148 มาตรา 148 ทวิ
มาตรา 152 หรือมาตรา 152 ทวิ ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ให้พนักงานอัยการร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง และ
เมื่อพนักงานอัยการได้ร้องขอต่อศาลแล้ว
      ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำหน่ายในท้องถิ่นอย่างน้อยสองวันติดต่อกัน เพื่อให้
บุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของมายื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ ไม่ว่าในคดีดังกล่าวจะปรากฏตัวบุคคลซึ่งอาจเชื่อว่า
เป็นเจ้าของหรือไม่ก็ตาม
      ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดอ้างตัวเป็นเจ้าของก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือมีเจ้าของแต่เจ้าของไม่สามารถพิสูจน์ให้ศาลเชื่อว่าตนไม่มีโอกาสทราบ
หรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิดดังกล่าว อีกทั้งตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดเช่นนั้น
เกิดขึ้น หรือไม่สามารถพิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิด
ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินดังกล่าวได้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันแรกของวันประกาศในหนังสือพิมพ์รายวัน ตามวรรคสอง และในกรณีนี้
มิให้นำมาตรา 36 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับ
      *[มาตรา 154 แก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2528]

      มาตรา 155* ในกรณีความผิดตามมาตรา 132 ทวิ มาตรา 132 ตรีมาตรา 133 ตรี มาตรา 135 มาตรา 142 มาตรา 143 มาตรา 145
มาตรา 147 มาตรา 148 มาตรา 148 ทวิ มาตรา 152 มาตรา 152 ทวิหรือมาตรา 152 ตรี ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งจ่ายเงินสินบนแก่ผู้นำจับและเงินรางวัล
แก่ผู้จับตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในอัตรารวมกันไม่เกินร้อยละห้าสิบห้าของจำนวนเงินค่าขายของกลางหรือเงินค่าปรับแล้วแต่กรณี ในการกำหนดอัตราเงินสินบนหรือเงินรางวัล รัฐมนตรีจะกำหนดให้จ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลสำหรับกรณีที่ปรากฏตัวผู้ต้องหาและหรือมี
ผู้กระทำความผิดที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ได้รับโทษทางอาญามากกว่าการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลในกรณีที่ไม่ปรากฏตัวผู้ต้องหาและหรือไม่มี
ผู้กระทำความผิดที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดก็ได้
      เงินสินบนและเงินรางวัลตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีจ่ายจากเงินขายของกลางที่ศาลสั่งริบ หรือจ่ายจากเงินค่าปรับที่ชำระต่อศาลในกรณีที่ศาลมิได้สั่งริบของกลาง หรือของกลางไม่อาจจำหน่ายได้ หรือจ่ายจากเงินค่าปรับ
ที่มีการเปรียบเทียบในกรณีที่คดีเป็นอันระงับโดยการเปรียบเทียบปรับหรือจ่ายจากเงินขายของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 15 เบญจ และในกรณี
ที่คดีเป็ นอันระงับโดยการเปรียบเทียบปรับ อธิบดีอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจเปรียบเทียบเป็นผู้สั่งจ่าย โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือไม่ ก็ได้
      *[มาตรา 155 แก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

หมวด 13
บทเฉพาะกาล
_______________________________________

      มาตรา 156 บทบัญญัติในมาตรา 89 เฉพาะกรณีขุดหาแร่รายย่อยมาตรา 101 มาตรา 105 และมาตรา 114 มิให้ใช้บังคับจนกว่าจะพ้นกำหนด
หกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

      มาตรา 157 ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎกระทรวงหรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ ให้บรรดากฎกระทรวงและประกาศที่ได้ออกตามกฎหมาย
ว่าด้วยการทำเหมืองแร่และใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง
พระราชบัญญัตินี้

      มาตรา 158 ในระหว่างที่ยังมิได้ตรากฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมออกใช้บั งคับ ให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเกี่ยวกับปิโตรเลียมไป
พลางก่อนโดยอนุโลม

      มาตรา 159 ผู้ใดประสงค์จะขออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจปิโตรเลียมให้ยื่นคำขอต่ออธิบดี พร้อมกับแผนที่แสดงเขตที่จะขออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจ
ปิโตรเลียม

      มาตรา 160 ผู้ใดประสงค์จะขอประทานบัตรทำเหมืองปิโตรเลียมให้ยื่นคำขอต่ออธิบดี พร้อมกับแผนที่แสดงเขตที่จะขอประทานบัตร

      มาตรา 161 รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่ อายุ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และการเรียกผลประโยชน์ตอบแทน
ที่จะให้แก่รัฐในการออกอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจปิโตรเลียม และการออกประทานบัตรทำเหมืองปิโตรเลียมแตกต่างไปจากบทแห่งพระราชบัญญัตินี้เป็น
พิเศษได้

      มาตรา 162 ผู้ถืออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจปิโตรเลียม ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามมาตรา 26
ผู้รับใบอนุญาตทำเหมืองปิโตรเลียมชั่วคราวหรือผู้ถือประทานบัตรทำเหมืองปิโตรเลียม ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามมาตรา 55

      มาตรา 163 บรรดาประทานบัตร อาชญาบัตร หรือใบอนุญาต ที่ได้ออกให้ตามกฎหมายที่ถูกยกเลิกตามมาตรา 3 ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นประทานบัตร อาชญาบัตร หรือใบอนุญาตออกตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะสิ้นอายุ

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ถนอม กิตติขจร
นายกรัฐมนตรี

บัญชีอัตราค่าธรรมเนียม*

เลขลำดับ รายการ อัตราค่าธรรมเนียม
1
2
3
4
5
6
7
8






9

10




11

12
13
14

15


16
17
18
19

20

21
22


23


ค่าคำขอ ฉบับละ
ค่าอาชญาบัตรสำรวจแร่ ฉบับละ
ค่าอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ ฉบับละ
ค่าอาชญาบัตรพิเศษหรือ ค่าต่ออายุอาชญาบัตรพิเศษ ฉบับละ
ค่าประทานบัตรชั่วคราว ฉบับละ
ค่าประทานบัตรหรือค่าต่ออายุ | ประทานบัตร แปลงละ
ค่าใบอนุญาตหรือค่าต่ออายุใบอนุญาต ฉบับละ
ค่าใช้เนื้อที่
      (ก) ตามอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่
      หรืออาชญาบัตรพิเศษทุก 1 ไร่
      หรือเศษของ 1 ไร่ ปีละ
      (ข) ตามประทานบัตรหรือตาม
      ประทานบัตรชั่วคราวทุก 1 ไร่
      หรือเศษของ 1 ไร่ ปีละ
ค่ารังวัด ตามความยาวของระยะที่รังวัด
ทุก 40 เมตร หรือเศษของ 40 เมตร
ค่าเขียนหรือจำลองแผนที่ 50 ตาราง
เซนติเมตรแรก หรือต่ำกว่าแต่ละแปลง
ทุก 50 ตารางเซนติเมตรต่อไป หรือ
เศษของ 50 ตารางเซนติเมตร
ค่าไต่สวน เรื่องละ
ค่าหลักหมายเขตเหมืองแร่ หลักละ
ค่าโอนประทานบัตร แปลงละ
ค่าธรรมเนียมในค่าตอบแทนการโอนสิทธิ
ทำเหมืองตามประทานบัตร ร้อยละ
ค่าตรวจสอบ ทดลอง หรือวิเคราะห์
ทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างหนึ่ง ๆ
แร่ หรือธาตุ หรือรายการละ
ค่าคัดสำเนาหรือถ่ายเอกสาร หน้าละ
ค่ารับรองสำเนาเอกสาร ฉบับละ

ค่าตรวจสอบเอกสารหลักฐาน เรื่องละ
ค่ากรอกแบบพิมพ์คำขอเมื่อผู้ประสงค์
ยื่นคำขอต้องการ ฉบับละ

ค่าใบแทนอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว
ประทานบัตร หรือใบอนุญาต ฉบับละ

ค่าจดทะเบียนหนังสือมอบอำนาจ ฉบับละ
ค่าธรรมเนียมหยุดการทำเหมือง
ทุก 1 ไร่ หรือเศษของ 1 ไร่ ปีละ
ค่าธรรมเนียมการทดน้ำหรือชักน้ำ คำนวณ
ตามปริมาณน้ำที่ใช้ทุก 1 ลูกบาศก์เมตร หรือ
เศษของ 1 ลูกบาศก์เมตร ต่อ 1 นาที ปีละ

20 บาท
100 บาท
500 บาท
1000 บาท
1000 บาท
1000 บาท
1000 บาท



6 บาท


20 บาท

20 บาท

20 บาท

5 บาท แต่ไม่เกินฉบับละ 200 บาท
100 บาท
100 บาท
500 บาท

4 บาท


1,000 บาท
10 บาท
50 บาท
100 บาท

5 บาท

200 บาท
100 บาท

20 บาท



100 บาท

*[บัญชีอัตราค่าธรรมเนียม แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

__________________________
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยขณะนี้มีกฎหมายแร่อยู่หลายฉบับ สมควรนำมารวมไว้ในที่เดียวกันและปรับปรุง
เสียใหม่ โดยให้รัฐมีอำนาจควบคุมการตรวจ การผลิต การรักษาแหล่งแร่ การจำหน่ายแร่ และการโลหกรรม และในเวลาเดียวกันก็อำนวยความสะดวกให้แก่
ผู้ประกอบการทำเหมื อง ตลอดถึงการให้ความคุ้มครองแก่กรรมกรและสวัสดิภาพของประชาชนให้เหมาะสมแก่กาลสมัย

__________________________
พระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516 มาตรา 42 บรรดาคำขออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ที่ได้ยื่นไว้ก่อน
วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรให้มีอำนาจออกอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ให้แก่ผู้ยื่นคำขอตามจำนวนเนื้อที่ที่ระบุไว้ในคำขอนั้นได้

มาตรา 43 บรรดาอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ที่มิใช่แร่เหล็กหรือใบอนุญาตทำเหมืองชั่วคราวที่ได้ออกให้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้
ถือว่าเป็นอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่หรือประทานบัตรชั่วคราวที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะสิ้นอายุ แม้ว่าเนื้อที่ตามอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่
ที่มิใช่แร่เหล็กนั้นจะเกินกว่าเนื้อที่สำหรับอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่บนบกหรือในทะเลดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ก็ตาม
ให้อาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่เหล็กที่ได้ออกให้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ ้นอายุโดยให้นำมาตรา 33 วรรคหก และ
มาตรา 40 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ถือว่าเป็นอาชญาบัตรพิเศษตามพระราชบัญญัตินี้
ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎกระทรวงหรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ให้บรรดากฎกระทรวงและประกาศที่ได้ออกตามกฎหมายว่าด้วยแร่และใช้บังคับ
อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยแร่ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ เป็นเหตุ
ให้ไม่อาจเร่งรัดและส่งเสริมการสำรวจแร่และการผลิตทรัพยากรธรณีอันมีค่าให้ได้ผลและอำนวยประโยชน์แก่ประเทศชาติได้ และประกอบกับทั้งค่าธรรมเนียม
บางรายการยังไม่เหมาะสม สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยแร่ให้รัดกุมและเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ขึ้น
[รก.2516/95/265/31 กรกฎาคม 2516]

_________________________
พระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่ องจากบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
แร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516 ยังไม่เหมาะสมและไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยแร่ และการกำหนดอัตรา
ค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บยังต่ำไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน สมควรแก้ไขกฎหมายว่าด้วยแร่ให้รัดกุมและเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตรา
พระราชบัญญัตินี้
[รก.2522/77/1พ./12 พฤษภาคม 2522]

__________________________
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 พ.ศ. 2526
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ เนื่องจากการส่งหนังสือหรือคำสั่งแก่บุคคลเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติแร่
พ.ศ. 2510 จะต้องส่งโดยตรงเสียก่อน จึงจะส่งหนังสือหรือคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือปิดไว้ในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สำนักงาน ภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่
ของบุคคลดังกล่าวได้ ทำให้ไม่สะดวกในการปฏิบัติ สมควรกำหนดวิธีการส่งหนังสือหรือคำสั่งเสียให ม่โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเลือกส่งโดยตรงหรือ
ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนได้ นอกจากนั้น ในปัจจุบันผู้ทำเหมืองผลิตแร่ได้เกินปริมาณที่ทางราชการอนุญาตให้ส่งออกนอกราชอาณาจักรและจำนวนแร่ที่เกิน
ปริมาณดังกล่าวนี้ทางราชการยังไม่มีมาตรการที่จะควบคุมการเก็บรักษามิให้สูญหายหรือถูกลักลอบไปจำหน่ายยังต่างประเทศ อันทำให้เกิดความเสียหายแก่
เศรษฐกิจของประเทศ สมควรจัดให้มีสถานที่ฝากแร่เพื่อรับฝากแร่ที่เกินปริมาณดังกล่าวพร้อมทั้งให้มีมาตรการควบคุมการเก็บรักษาอย่างเหมาะสม และให้สิทธิ
แก่ผู้ที่นำแร่ไปฝากไว้ ณ สถานที่ฝากแร่ที่จะขอผัดการชำระค่าภาคหลวงแร่ไว้ก่อนได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการทำเหมือง จึงจำเป็นต้องแก้ไข
เพิ่มเติมพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็น
ต้องตราพระราชกำหนดนี้
[รก.2526/163/1พ./13 ตุลาคม 2526]

__________________________
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบั ญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันในท้องที่บางแห่งได้มีการลักลอบทำแร่และลักลอบส่งแร่ออกนอก
ราชอาณาจักรอยู่เป็นประจำ ทำให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก แต่พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มิได้ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของ
รัฐในอันที่จะควบคุม หรือวางมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันและปราบปรามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมควรให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้ท้องที่หนึ่งท้องที่ใด
เป็นเขตควบคุมแร่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจบางประการในอันที่จะสามารถควบคุมและวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทำแร่และ
ลักลอบส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักรได้ กับเห็นควรให้มีการเพิ่มและแก้ไขบทกำหนดโทษให้สอดคล้องกัน รวมทั้งเพิ่มเติมกรณีการคืนค่าภาคหลวงแร่ และ
แก้ไขวิธีการในเรื่องของกลางและการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลนำจับ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความมั่นคงใน
ทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
[รก.2528/19/1พ./13 กุมภาพันธ์ 2528]

__________________________
พระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันปรากฏว่าการทำเกลือด้วยวิธีการสูบน้ำเกลือใต้ดินได้ขยายตัวอย่าง
รวดเร็ว จำเป็นต้องควบคุมมิให้มีการขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินเพิ่มมากขึ้นและวางมาตรการกำหนดให้การขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินและการทำเกลือจาก
น้ำเกลือใต้ดินต้องดำเนินการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และป้องกันมิให้มีผลกระทบทางสภาวะสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินดังกล่าว
สมควรกำหนดให้น้ำเกลือใต้ดินอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยแร่ แต่ได้วางมาตรการเป็นพิเศษให้ผ่อนคลายลง สำหรับการขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินเพื่อให้
แตกต่างไปจากวิธีการทำเหมืองโดยทั่วไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
[รก.2534/146/1พ./21 สิงหาคม 2534]